ร.อ.ธรรมนัสรมว.เกษตร ควง 4 สส.กำแพงฯ แก้ปัญหาน้ำ ฝายแตก และราคาอ้อย
วันที่ 6 ตุลาคม 2566 ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควง 4 สส.นายไผ่ ลิกค์ ,นายเพชรภูมิ อาภรรัตน์,นายอนันต์ ผลอำนวย ,นายปริญญา ฤกษ์หร่าย พรรคพลังประชารัฐ ว่าที่ ร.ต.วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี สว.กำแพงเพชร, ลงพื้นที่ตรวจติดตามฝายวังบัวชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาวังบัว บ้านโขมงหัก ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอแผนขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการซ่อมแซมฝายแตกเมื่อ 1 ตุลาคม 2566 ทันที ขณะที่นายสดุดี พุทธัง นายอำเภอคลองขลุงได้ยื่นหนังสือความเดือดร้อนเรื่อง“สะพานศรีมงคลวชิรานุสรณ์” (สะพานวังแขม) ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงเชื่อมโยงระหว่าง ต.วังแขม ข้ามไป ต.แม่ลาด อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร พังถล่มเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ให้ได้รับการแก่อย่างเร่งด่วนเนื่องจาก ประชาชนได้รับความเดือดร้อน อย่างหนัก
โดยมี นายสุนทร รัตนากร นายก อบจ.กำแพงเพชร นายอนันต์ เดชศรี อดีต ประธสภา อบจ. นายกมล สิมเมือง สจ.ข้าราชการหน่วยงานนำโดย นายชาธิป รุจนเสรี ผวจ.กำแพงเพชร นางสาวสุพัตรา คล้ายทิม นายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าฯ พ.อ.เสมอ แจ่มใส รอง ผอ.กอ.รมน.จังหวัดฯ, รายงานสถานการณ์ จุดที่ชำรุดเสียหายมีความกว้างประมาณ 40 – 50 เมตร ฝายแห่งนี้เมื่อเดือนมกราคม และสิงหาคม 2565แตกเช่นนี้ขึ้นแล้ว 2 ครั้ง
รมว.เกษตร เดินทางพบปะชาวไร่อ้อย จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิจิตร และตัวแทนสมาคมชาวไร่อ้อย จากสมาคมชาวไร่อ้อยลูกพระยาพิชัย จ.อุตรดิตถ์, สมาคมชาวไร่อ้อยสี่แคว จ.นครสวรรค์, สมาคมชาวไร่อ้อยสิงห์บุรี, สมาคมชาวไร่อ้อยศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย , สมาคมชาวไร่อ้อยเขต 11 นครสวรรค์ , สมาคมชาวไร่อ้อยภาคตะวันออก จ.ชลบุรี และกลุ่มสหกรณ์ชาวไร่อ้อยขาณุวรลักษบุรี ที่สมาคมชาวไร่อ้อย เขต 6 กำแพงเพชร
นายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กำแพงเพชร ได้นำเสนอปัญหาเรื่อง ขอความช่วยเหลือ และอนุเคราะห์จากรัฐมนตรี ในเรื่องที่ค้างมาตั้งแต่รัฐบาลก่อนหน้านี้ คือ เรื่องความช่วยเหลือการตัดอ้อยสดลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ และแก้ไข PM 2.5 ชาวไร่ได้พยายามสนองนโยบายรัฐบาลในการลดอ้อยไฟไหม้แก้ไข PM 2.5 ซึ่งในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ได้เห็นชอบให้มีการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการตัดอ้อยเพิ่มขึ้นไปอีก 2 ฤดูหีบ คือ 2564/65 และ 2565/66 ในฤดูหีบ 2564/65 รัฐบาลได้มีการช่วยเหลือมาแล้ว ตันละ 120 บาท ในฤดูหีบ 2565/66 ซึ่งปิดหีบไปเมื่อเดือนเมษายน 2566 ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ
ผมในฐานะตัวแทนพี่น้องชาวไร่อ้อย ขอเรียนว่า ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดนั้น จะต้องมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดอ้อยไฟไหม้อยู่ที่ตันละ 120 บาท (สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นผู้ให้ข้อมูลตัวเลขดังกล่าว) ซึ่งเป็นเงินที่ชาวไร่ได้ลงทุนไปแล้ว ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือทำให้เกิดความเดือดร้อน ขาดสภาพคล่องในการดูแลอ้อย และจะทำให้เกิดปัญหาการตัดอ้อยในอนาคต จึงใคร่ขอให้ท่านรัฐมนตรีช่วยแก้ไขปัญหาและสนับสนุนให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับพี่น้องชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดทุกตันอ้อยด้วย จากนั้นมีการยื่นหนังสือไว้เป็นหลักฐาน
หลังจาก รมว.เกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำ ด้านแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และเรื่องที่ดินทำกิน การเปลี่ยนที่ดิน สปก.4-01 ให้เป็นโฉนด พร้อมมอบเอกสารสิทธิ์ สปก 4 – 01 เอกสารการทำประโยชน์ และการปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงข้าวสาร ถุงยังชีพ พันธุ์ปลา และพันธ์พืชผัก แก่สมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อยและประชาชนก่อนเดินทางไปราชการที่จังหวัดตากเมื่อวานนี้