ผู้ว่าฯนำ วางพวงมาลาดอกไม้สักการะและถวายบังคมที่พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕”วันปิยมหาราช”
วัน” ปิยมหาราช ” วันที่ 23 ตุลาคม 2567 นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร,ร่วมด้วย นางกาจนี รุจนเสรี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร, นายอนุชา พัสถาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร, นายชัยพฤกติ์ เชียรธานรักษ์ ปลัดจังหวัดกำแพงเพชร, นายฉัตรชัย ตังคณานุกูลชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้น ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร นางสาวแก้วพิมพ์ รังสิมันต์ไพบูลย์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร พ.ต.อ.เอนก จันทร์ศร รองผบก.ภ.จว.กำแพงเพชร,พ.อ.เสมอ แจ่มใส รอง ผอ.รมน.จังหวัด ก.พ.(ท.) แพทย์หญิงอังคณา อุปพงษ์ ผอ.รพ. กำแ กำแพงเพชรพงเพชร ,นายณัฐภูมิ สุภาวิทย์ พนักงานสืบสวนและไต่สวน ชำนาญการ กกต.กำแพงเพชร , นางศรีสุรางค์ จูทอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร นายโชคชัย รักเกื้อ นายอำเภอเมืองกำแพงเพชร, นายอภินันท์ มุสิกะพงษ์ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร นายวสันต์ ปิ่นมณี รองปลัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร,เทศบาลเมืองหนองปลิง รวมทั้งประชาชนวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ หน้าศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๓ ตุลาคม วันปิยมหาราช
วันที่ ๒๓ ตุลาคม วันปิยมหาราช รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวันสำคัญของชาติและกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรไทย พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามพระองค์ “พระปิยมหาราช” อันมีความหมายว่า”พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า “พระปิยมหาราช” หรือพระพุทธเจ้าหลวง
พระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้านของพระองค์ อาทิ ด้านการทหารและการปกครองประเทศ ทรงตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบกและทหารเรือ ทรงให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ จากเดิมมี ๖ กระทรวง และได้เพิ่มอีก ๔ กระทรวง รวมเป็น ๑๐ กระทรวง ในส่วนภูมิภาคทรงให้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกและให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย ทรงให้จัดตั้งธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรก ทรงให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวังจัดการเรียนการสอน แล้วขยายออกไปทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อให้ทั่วถึงประชาชน ทำให้การศึกษาของไทยได้รับการพัฒนา ด้านการต่างประเทศ
พระราชกรณียกิจอีกประการที่สำคัญยิ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การเลิกทาส ในปี พ.ศ.๒๔๑๖ ให้เป็นไทโดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อแม้แต่หยดเดียว
นอกจากนี้ การเสด็จประพาสต้น ก็เป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญเนื่องจากพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเสด็จพระราชดำเนินเป็นการลับทางรถไฟหรือไม่ก็ทางเรือ ทรงแต่งพระองค์อย่างสามัญชน เพื่อทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร
เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต
ส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง ๔๐ ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ นั้น
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ เรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ สิริรวมพระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา นับเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พระปรีชาสามารถ และเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรไทย สมกับพระราชสมัญญา “พระปิยมหาราช” ซึ่งแปลความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน”
ข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม