ข่าวรอบชากังราวข่าวเด่นธุรกิจท่องเที่ยวเทศบาล

เปิดงานกล้วยไข่คึกคัก..แห่ชมรถขบวนแห่แน่น..ส่งสเริมเกษตร ท่องเที่ยว วัฒนธรรม

จังหวัดกำแพงเพชร จัดงาน ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่ของดีเมืองกำแพงฯ ชมขบวนรถสวยงามที่ตกแต่งจากวัสดุธรรมชาติ จากกล้วยต้นกล้วยใบตอง 11 คัน 11 อำเภอที่ประดับตกแต่งกันมาอย่างสวยงาม เพื่อแข่งขันผลการประกวด อ.คลองขลุงได้ที่ 1 อำเภอเโกสัมพีนครได้ที่ 2 และอำเภอลานกระบือที่ 3 ท่ามกลางประชาชนที่มาเฝ้าชมกันหลายพันคนแม้ฝนตกปรอยๆก็ไม่ยอมหนี

นายชาธิป รุจจนเสรีผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้เป็นประธานเปิดงาน ประเพณีไทยกล้วยไข่และของดีเมืองกำแพงประจำปี 2566 ร่วมด้วย นางกาญจนี รุจนเสรีนายกเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร, นายบุญช่วย หอมยามเย็น นางสาวสุพัตรา คล้ายทิม รองผู้ว่าฯ, นางระวีวรรณ หงส์ขจรโพธิ์ทอง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร, “หมอทร” ายสุนทร รัตนากร นายก อบจ.กำแพงเพชร, ชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเมืองกำแพงเพชร, หัวหน้าทุกส่วนราชการ,

เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 18:00 น. ซึ่งก่อนหน้านั้น ขบวนรถแห่กล้วยไข่จาก 11 อำเภอของจังหวัดกำแพงเพชรได้เคลื่อนขบวนเข้าสู่ลานพิธีเปิดที่หน้าลานโพธิ์หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ซึ่งแต่ละอำเภอใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำวัสดุจากธรรมชาติเช่นต้นกล้วยใบตองมาประดับตกแต่งรถได้อย่างสวยงาม และด้านบนรถก็จะสร้างสรรค์ด้วยศาสนาพุทธหรือองค์พระที่ประดับจำลองกันขึ้นมา

เนื่องจากว่าประเพณีไทยกล้วยไข่นั้นตรงกับวันสารทไทยคือ แรม 15 ค่ำเดือน 10 ในอดีตชาวบ้านจะนิยมนำกล้วยสุกและกระยาสารทไปถวายพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ จนกลายเป็นประเพณีขึ้นมาและจังหวัดกำแพงเพชรก็ได้เริ่มจัดงานประเพณีไทยกล้วยไข่ขึ้นจะเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ 2524 ชื่อว่าวันกล้วยไข่เมืองกำแพง และในปี พ.ศ 2526 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นงานประเพณีกล้วยไข่เมืองกำแพง เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมในช่วงเทศกาลวันสารทไทย

รถทางเกษตรกับต้นกล้วยประดับแห่งานกล้วยไข่ในอดีต

ซึ่งการจัดงานดังกล่าวนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสร้างคุณค่าและชื่อเสียงให้แก่พืชเศรษฐกิจก็คือกล้วยไข่ และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่แปรรูปจากกล้วยไข่ ของดีจากจังหวัดกำแพงเพชรและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด นอกจากนี้ยังส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชรในทางหนึ่งด้วย

สำหรับผลการประกวดรถแห่ในครั้งนี้อันดับที่ 1 ได้แก่รถจากอำเภอคลองขลุง และอันดับ 2 จากอำเภอโกสัมพีนครและอันดับที่ 3 จากอำเภอคลองลาน ซึ่งภายในงานก็ยังคงมีกิจกรรมต่างๆเช่นการกวนกระยาสารท ประกวดกล้วยไข่สุก การประกวดกล้วยไข่ดิบ

พิธีทอดผ้าป่าแถว การจัดนิทรรศการด้านการเกษตร ด้านวัฒนธรรม การจำหน่ายอาหารย้อนยุคผลิตภัณฑ์ OTOP และผลิตภัณฑ์จากชุมชนกลุ่มอาชีพต่างๆและการแสดงวัฒนธรรมที่เวทีกลางนอกจากนี้ยังมีการประกวดหนูน้อยกล้วยไข่และธิดากล้วยไข่ในคืนวันสุดท้ายของงานซึ่งงานจะจัดตั้งแต่วันที่ 5 ไปจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2566

อย่างไรก็ตามในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันเหลือพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ลดลงไปมากเพียงนับพันไร่ จากเดิมเคยปลูกกันหลายหมื่อไร่ แม้จะมีการส่งเสริมจากภาครัฐและเกษตรจังหวัดแล้วก็ตามเนื่องจากว่าการปลูกกล้วยไข่นั้นเป็นพืชที่ดูแลยากต้องการน้ำและหากเจอลมพายุฝนต้นกล้วยก็จะล้มทำให้ขาดทุน เกษตรกรก็หันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นแทนซึ่งมีรายได้ดีกว่า ถึงอย่างไรกล้วยไข่ก็ยังคงเป็นพืชสัญลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรที่ทางจังหวัดจะได้หาทางเพื่อที่จะให้พืชเศรษฐกิจในอดีตนี้ นี้เป็นพืชคงอยู่ของจังหวัดกำแพงเพชรด้วยการเพิ่มพื้นที่และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยไข่และส่งเสริมในด้านต่างๆเพื่อให้ฟื้นกลับคืนมาเป็นจังหวัดที่มีกล้วยไข่มากที่สุดนั่นเอง

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า