ข่าวเด่นวาไรตี้

สภาวัฒนธรรมแถลง”โชว์รากเหง้าวัฒนธรรมท้องถิ่น”งานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่

นายเทวัญ หุตะเสวี ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้เป็นประธานการแถลงข่าวการจัดกิจกรรมการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่นต่อสื่อมวลชน โดยมี น.ส.พชรพรรณ ชุ่มเปี่ยม นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษตัวแทนวัฒนธรรมจังหวัด นางปณัฐดา เชิดธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขาณุ ดร.กชพร โพธิ์อ่อง ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอปางศิลาทอง นายรุ่งโรจน์ รัตนศรี รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอคลองขลุงและผู้แทนสภาวัฒนธรรมอำเภอพรานกระต่าย รวมทั้งสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวดังกล่าวที่พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ (พิพิธภัณฑ์เรือนไทย)

นายเทวัญ หุตะเสวี กล่าวว่า จังหวัดกำแพงเพชรได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องของการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นพร้อมมอบหมายให้สภาวัฒนธรรมจังหวัดร่วมกับสภาวัฒนธรรมประจำอำเภอ นำสิ่งที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์หรือรากเหง้าของวัฒนธรรมท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ มาบอกเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาในรูปแบบของการแสดงภายใต้ชื่อ”อัตลักษณ์วิถีถิ่นบนแผ่นดินเมืองกำแพง“ในงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ในคืนวันที่ 11 ตุลาคม 2566 บนเวทีกลางโดยจะเริ่มทำการแสดงตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป

สำหรับในปีนี้นั้น ได้มีการนำร่องที่ค้นหาต้นแบบการนำเสนออัตลักษณ์ของท้องถิ่นแต่ละอำเภอ 4 อำเภอเป็นเบื้องต้น ประกอบด้วยอำเภอขาณุวรลักษบุรี ที่จะได้นำเสนอถึงประวัติความเป็นมาของกล้วยไข่ ที่มีตำนานการปลูกครั้งแรกเกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมการแสดงของเด็กไทยโบราณ ที่เล่าถึงความเป็นมาของอำเภอขาณุวรลักษบุรี แล้วนำไปสู่การแสดงถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยไข่เป็น”ผ้าใยกล้วยไข่ขาณุ” ที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ในส่วนของอำเภอคลองขลุง จะเป็นการนำเสนอของดีทั้ง 10 ตำบล โดยเฉพาะการเล่าเรื่องความเป็นมาของหลวงปู่วิบูลวชิรธรรม(หลวงปู่สว่าง) ที่หลายคนศรัทธาเลื่อมใส รวมไปถึงการแสดงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ุ”ไททรงดำ” ของตำบลวังยางรวมถึงตำนานการแข่งขันเรือยาวของตำบลท่ามะเขือที่จะนำมาร้อยเรียงถ่ายทอดสู่สายตาประชาชนในคืนดังกล่าว ส่วนของอำเภอพรานกระต่ายนั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งอำเภอที่มีอัตลักษณ์และจุดเด่นโดยเฉพาะวัฒนาทางด้านภาษาและสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ ของการสื่อสารจะได้ถูกนำเสนอถึงรากเหง้าความเป็นมาในรูปแบบการแสดงอย่างสนุกสนาน

และสุดท้ายดร.กชพร โพธิ์อ่องได้เล่าให้ฟังเพิ่มเติมในส่วนของอำเภอปางศิลาทองว่า อำเภอปางศิลาทองมีรากเหง้าวัฒนธรรมในการประดิษฐ์สิ่งทอ โดยเฉพาะ ในพื้นที่ได้มีการปลูกฝ้ายและการทำผ้าไหมจำนวนมาก ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นมาตามลำดับโดยนำเอาผ้าฝ้ายและผ้าไหมมาทอรวมกันเรียกว่า “นางไหมแกมฝ้าย” พร้อมกับได้มีการออกแบบลวดลายที่สวยงามคือ”ศิลาล้อมเพชร” ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีการพัฒนาจนได้รูปแบบที่สวยงาม ทุกอย่างจะมีการถ่ายทอดทั้งการบอกเล่าและการแสดงให้เห็นถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรมของอำเภอปางศิลาทองได้เป็นอย่างดี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า