วัดช้างกวนข้าวทิพย์ ข้าวมธุปายาส ถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันวิสาขบูชา
วัดนาควัชรโสภณ พระอารามหลวง (วัดช้าง) จัดพิธี กวนข้าวมธุปายาส เนื่องในวันวิสาขบูชา ถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2566
วันที่ 2 มิถุนายน 2566 คุณรัชนี อัสวสุธีรกุล ,คุณโชคดี สุทธะมุสิก คุณชมดี สุทธะมุสิก คณะกรรมการเหล่ากาชาดกำแพงเพชร,คณะกรรมการวัดนาควัชรโสภณ พระอารามหลวง (วัดช้าง) นางสาวจรินทร ศุภดิษฐ์ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการ โรงเรียนเทศบาล 3 (อินทรัมพรรย์ บุญประคองพิทยาคม)
คณะครู นักเรียนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ร่วมด้วยชาวพุทธศาสนิกชนและประชาชน ผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาร่วมพิธีเพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามพิธี กวนข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นครั้งแรก ถวายพระสงฆ์ เนื่องในวันวิสาขบูชา ถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันวิสาขบูชา วันที่ 3 มิถุนายน 2566
การกวนข้าวมธุปายาส ในปัจจุบันนิยมทำกันในระยะเวลาที่ข้าวในนากำลังออกรวงเป็นน้ำนมข้าว เพราะน้ำนมข้าวเป็นเครื่องปรุงสำคัญ โดยส่วนใหญ่ใช้วัดเป็นสถานที่กวนข้าวมธุปายาส เพราะว่าวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดมา
ข้าวมธุปายาส ในพุทธประวัติเป็นข้าวทิพย์ที่ นางสุชาดา บุตรีมหาเศรษฐีแห่งบ้านเสนานิคม ณ ตำบลอุรุเวลา ประเทศอินเดีย ในสมัยพุทธกาล ข้าวมธุปายาสเป็นข้าว ที่หุงด้วยน้ำนม อย่างดี ได้นำ ไปบวงสรวงเทพยดาที่ใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทรใหญ่) ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ได้พบพระพุทธองค์ ประทับอยู่ใต้ต้นนิโครธเข้าใจว่าเป็นเทพยดา จึงได้ข้าวมธุปายาสไปถวาย พระมหาบุรุษก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากพระองค์ได้เสวยข้าวมธุปายาส ของนางสุชาดา แล้ว ก็ได้ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณในย่ำรุ่งของคืนนั้นเอง ชาวบ้านจึงเชื่อว่าข้าวมธุปายาสเป็นอาหารทิพย์ช่วยให้สมองดี เกิดปัญญาแก่ผู้บริโภค ทำให้ผิวพรรณผ่องใส อายุยืนยาว และเป็นโอสถขนานเอก บันดาลความสำเร็จให้แก่ผู้บริโภคด้วย
เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยเสร็จแล้ว แล้วนางได้กล่าวว่า”ขอให้พระองค์ จงประสพความสำเร็จ ในสิ่งที่พระองค์ ทรงประสงค์ เช่นเดียวกับที่ดิฉัน ได้ประสพความสำเร็จ ในสิ่งที่ดิฉัน ประสงค์แล้ว เถิดเจ้าข้า” ดังนี้. พระองค์ทรงรับ บิณฑบาตนั้นแล้ว, ปั้นก้อนข้าวเป็น 49 ก้อน แล้วฉันจนหมด. อาหารมื้อนี้เอง เป็น อาหารมื้อก่อนการตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า โดยได้ทรงนำถาดทองที่ใส่ข้าวมธุปายาสนั้นไปลอยน้ำ และทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดทองนั้นลอยทวนน้ำขึ้นไป เมื่อพระองค์ทรงวางถาดลงในน้ำ ก็ปรากฏว่า ถาดทองลอยทวนน้ำขึ้นเหนือน้ำดังคำอธิฐาน ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าภัตตาหารมื้อนั้นได้มีส่วนทำให้พระองค์ได้สำเร็จและตรัสรู้อริยสัจ 4 ได้
ที่มาของข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส ครั้งพุทธกาลข้าวทิพย์หมายถึง อาหารวิเศษ สำหรับถวายเทวดา ทำจากอาหาร 108 อย่าง เช่น น้ำนมข้าว ข้าวสาลีเกษตรสาคู เผือก มัน นม เนย ผักผลไม้ มะพร้าว น้ำอ้อย ฯลฯ นำมาบดจนเป็นแป้ง ผสมในน้ำกะทิกรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำตาล แล้วนำมากวนบนไฟอ่อนๆ จึงเรียกว่า “ประเพณีกวนข้าวทิพย์”
พระครูวัชรวรธรรม เจ้าอาวาสวัดนาคโสภณ พระอารามหลวง (วัดช้าง)ได้กล่าวถึงกิจกรรมในวันวิสาขบูชาเนื่องด้วยเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้ประกอบพิธีกวนข้าวข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) ทางวัดนาควัชรโสภณเชิญชวนศรัทธาญาติโยมทั้งใกล้และไกล เพื่อร่วมอนุโมทนาบุญและขอชื่นชมในพลังแห่งความสามัคคีกับทางคณะสายแรงศรัทธาทุกด้านและทุกฝ่ายที่ได้เข้ามาช่วยให้กิจกรรมงานพิธีครั้งนี้ ขับเคลื่อนไปด้วยดี ต้องขออนุโมทนาบุญกับเจ้าภาพที่ได้อนุเคราะห์เป็นวัตถุสิ่งของหรือจะจตุปัจจัยเพื่อนำมาร่วมพิธีในการกวนข้าวมธุปายาท (ข้าวทิพย์)เนื่องในวันวิสาขบูชาครั้งนี้ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านสาธุ / ขอบคุณที่มาแหล่งข้อมูลจากเวปไซด์กูเกิ้ล