ข่าวรอบชากังราวข่าวสังคมข่าวเด่นคนเด่น ภูธรดัง

27 พฤษภาคม บุญยิ่งใหญ่ชาวกำแพงเพชร สักการะ หลวงปู่โต พรหมรังสี ปรางค์ธุดงค์

 

27 พฤษภาคม 2566
อัญเชิญหลวงปู่โต พรหมรังสี ปรางค์ธุดงค์
แห่สักการะ ในเมืองกำแพงเพชร – นครชุม

บุญยิ่งใหญ่ แห่พระรอบเมือง พระรูปปูนปั้นเหมือนหลวงปู่โต พรหมรังสี ปรางค์ธุดงค์ ประดิษฐานภายในอาคาร ศาลาธรรมจักรซันเดย์ วัดพระบรมธาตุนครชุม

“คุณอำพล ถาวรโลหะ” ถวายพระรูปปูนปั้นเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง”พระปางธุดงค์ ณ.วัดพระบรมธาตุ ในวันที่ 27 – 28 พฤษภาคม 2566 พร้อมจากนิทรรศการเปิดกรุ 150 ปี พระสมเด็จเนื้อปูนเพชร ที่หลวงปู่ท่านสร้างเอง ให้ชาวจังหวัดกำแพงเพชรได้ชม และศึกษาความเป็นมาพระซุ้มกออีกด้วย

คุณกมลพรรณ สุนทรยิ้ม (เจ้อิ๊ง) ศูนย์จำหน่ายข้าวตราสิงห์โตทอง “หอมนุ่มคุ้มราคา” ตั้งอยู่อาคารสามแยกหลังโรงพยาบาลกำแพงเพชร และ บริษัทในเครือสิงห์โตทองกรุ๊ป ได้ร่วมกับผู้ใจบุญสมทบทุน สร้างอาคารศาลาธรรมจักรซันเดย์ ขึ้นภายในบริเวณวัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดกำแพงเพชร และสร้างเสร็จแล้วจะถวายอาคารศาลาดังกล่าวให้กับทางวัดในวันที่ 28 พฤษภาคม 2566ในโอกาสเดียวกันนี้คุณมนต์ชัย รุ่งชาญชัย  (เสี่ยหรั่ง ) ประธานบริหาร บริษัทในเครือสิงห์โตทองไกรุ๊ป จะได้อัญเชิญรูปปั้นปูน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ปางธุดงค์ ขนาดความสูงประมาณ 3 เมตร มาประดิษฐานภายใน อาคารศาลาธรรมจักรซันเดย์ เพื่อให้ชาวจังหวัดกำแพงเพชรได้บูชาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2566 จะจัดขบวนแห่รอบเมืองเพื่อให้ชาวเมืองกำแพงเพชรและตำบลนครชุม ได้สักการะและเชิญชวนร่วมพิธีเฉลิมฉลองและชมนิทรรศการสมเด็จหลวงปู่โต

คุณอำพล ถาวรโลหะ ไม่ใช่เซียนพระ แต่มีพระมากกว่า 9 วัดรวมกัน โดยไม่ใช้เงินซื้อหามาสักบาทเดียว ชอบช่วยเหลือคน  จึงมีเพื่อนรักทั่วประเทศ ทั้งแวดวงการเมือง ธุรกิจ ทหาร ตำรวจ เขาช่วยด้วยใจ ไม่หวังผลตอบแทนด้วยเงินตรา ขอแค่มิตรภาพกลับมาก็พอ คุณอำพล ถาวรโลหะ  ซึ่งเป็นผู้รับช่วงดูแลรูปปั้นหลวงพ่อโตทั้งหมด 9 องค์ เพื่อนำไปถวายยังวัดต่างๆตามปณิธานของสมเด็จพระพุฒาจารย์โตที่ปั้นรูปไว้เพื่อจะนำไปถวายยังวัด 9 แห่ง ซึ่งจังหวัดกำแพงเพชรเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ได้รับถวายจากคุณอัมพล ถาวรโลหะ ในครั้งนี้ 

คุณอำพล ถาวรโลหะ เจ้าของชีวประวัติและผู้ครอบครองพระเครื่องล้ำค่า เปิดเผยว่า หลวงปู่โตตอนที่ท่านชราภาพแล้ว ท่านมีปณิธานสร้างพระทั้งหมด 9 องค์ เป็นรูปปูนปั้น รูปเหมือนของท่าน ประดิษฐานตามวัดต่างๆที่ท่านธุดงค์มา สมัยหนุ่มๆ  ต่อมาหลวงปู่โตได้ย้ายออกมาจาก วัดระฆังไปอยู่วัดอินทร์ พระรูปเหมือนต่างๆเหล่านี้หลวงปู่โตได้สั่งให้เอาไปเก็บ รักษาไว้ทั้งหมด โดยไม่มีใครรู้ว่าไปอยู่ที่ไหน เพราะหลวงปู่โตไม่มีอะไรเหลือเก็บไว้ในวัดระฆังเลยในตอนนั้นที่ท่าน ทิ้งวัดระฆังไปอยู่วัดบางขุนพรหม หรือวัดอินทร์ 

เพราะฉะนั้นพระรูปปุนปั้นเหมือนหลวงปู่โต  พรหมรังสีถูกเก็บรักษามา 100 กว่าปี มาเมื่อปี 2559  พระที่ผมบูชาอยู่ มีปาฏิหาริย์เกี่ยวกับเรื่องหลวงปู่โต ตกมัน ก็ได้อธิฐานกับหลวงปู่ จะทำอย่างไรถึงจะเป็นไปตามปณิธานหลวงปู่ คนที่เก็บพระดั้งเดิมแต่ครั้งแรก ก็มาอธิบายให้ฟังว่าหลวงปู่ท่านสร้างไว้แล้ว ทั้งหมด9 องค์เนี่ยท่านอยากให้ ไปประดิษฐานอยู่ที่วัด ตามวัดที่ท่านได้บันทึกเอาไว้ แต่ใบบันทึกมันเสียหาย ไม่อยู่แล้ว ผมเลยอธิษฐานหลวงปู่ ถ้าอย่างนั้นรูปปั้นหลวงปู่เหล่านี้ ก็ไว้บูชาที่บ้านไม่ได้ ต้องนำไปถวายวัดให้หมดทั้ง 9 องค์

ก็เลยตั้งปณิธานกับหลวงปู่ไว้ว่าผมจะต้องทำหน้าที่นี้ แทนประณิธานหลวงปู่ พระทั้ง 9 องค์นั้นผมได้นำไปถวายแล้ว 6-7องค์แล้ว ก็จะมีองค์พิเศษองค์นี้ ที่ผมรักมาก พอพี่ “หรั่ง” หมายถึง คุณมนต์ชัย รุ่งชาญชัย มาพูดผมก็มีความตั้งใจ ให้พระองนี้ที่กำแพงเพชร เรูปเหมือนหลวงปู่โตที่จะนำไปไว้วัด อื่นๆนั้นต่างกับรูปนี้ที่ตรงกับจังหวัดกำแพงเพชร ท่านเคยธุดงค์มา จำวัดอยู่ที่กำแพงเพชร ก็เลยเป็นการตรงกับประวัติที่จังหวัดกำแพงเพชร ส่วนใต้ฐานพระหลวงปู่โตจะบรรจุไว้ อะไรหลายหลายอย่างอยู่ข้างใน ก็จะถือโอกาสจะเปิดให้ชาวจังหวัดกำแพงเพชรไปดูกัน ว่าข้างในบรรจุอะไรไว้ข้างในฐานบ้าง ส่วนหลวงพ่อโตนั้นที่อัญเชิญมาจังหวัดกำแพงเพชร เป็นมหามงคล ท่านธุดงค์ เป็นปางทำมาหากินดีที่สุด เป็นสิริมงคล

และในโอกาสเดียวกันนี้ผมตั้งใจจะนำพระซุ้มกอ ซึ่งเป็นกุในจังหวัดกำแพงเพชร มาจัดนิทรรศการ ให้ชาวจังหวัดกำแพงเพชรได้ชมได้ศึกษา ต้นแบบของการสร้างซุ้มกอนั้นเป็นอย่างไร และพระเครื่องหายาก วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังที่หายาก อาทิเช่น พระสมเด็จวัดระฆัง พระเครื่องทองคำ พระชุดเบญจภาคี พระปิดตาเบญจภาคีเนื้อผง เนื้อโลหะ พระเครื่องหายากทุกพระเกจิอาจารย์ยุคเก่า มูลค่ากว่าพันล้านบาท โดยงานจัดแสดงนิทรรศการจะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ วันที่ 27 – 28 พฤษภาคม 2566

คลิ๊กข่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า