อัยการ จว.กพ.ประชุมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนา อัยการจังหวัดกำแพงเพชร
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2566 นายจักรกฤษณ์ ช้อนนาค อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 6 รักษาการในตำแหน่ง อัยการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในที่ประชุมร่วมกับคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ฯ และคณะที่ปรึกษาอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ตามที่สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรได้แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และที่ปรึกษาอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ห้องประชุมสำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมด้วย ,นายวิวัฒน์ ศิริชัยสุทธิกร อัยการศาลสูงสุดกำแพงเพชร
นายนรา เขมอุดมวิทย์ อัยการจังหวัด สอย. กำแพงเพชร ร.ต.อ.พงษ์พิพัฒน์ เขียวอุบล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกำแพงเพชร ,นายศุภชัย เกียรติขจรฤทธิ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ,พ.ต.ท.สุภาพ บัวดี อัยการจังหวัดประจำอัยการสูงสุด , นายอนุกูล อ่อนศรี อัยการจังหวัดประจำอัยการสูงสุด,นายธนภัทร โต๊ะถม อัยการจังหวัดประจำอัยการสูงสุด,ร.ต.อ.วสันต์ จันทาพูน อัยการจังหวัดประจำอัยการสูงสุด,และคณะอัยการจังหวัดกำแพงเพชร
ร่วมด้วยคณะกรรมการนำโดย นายธำรง อัศวะสุธีรกุล ประธานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร นายมนต์ชัย รุ่งชาญชัย,นายสมนึก เกิดเปี่ยม นายเนาวรัตน์ ยงยุทธวิชัย,นายรังสรรค์ สบายเมือง นอกจากนี้คณะที่ปรึกษาอัยการฯ
ดังนั้นเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ประชุมดำเนินการแนะนำอัยการจังหวัดกำแพงเพชร และข้าราชการอัยการที่ย้ายมาปฏิบัติราชการ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรรวมทั้งการแต่งตั้งและการแก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร
หลังจากเสร็จสิ้นการ ประชุมแล้วคณะอัยการได้ร่วมกันสักการะบูชาสรงน้ำพระพุทธรูป (หลวงพ่อเทพโมลี) ที่สถานอยู่ที่บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร และประกอบกิจกรรม ประเพณีรดน้ำดำหัว ผู้บังคับบัญชา ในโอกาสประเพณีเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นประเพณีที่ แสดงถึงความเคารพน้อบน้อม เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประ เพณีสงกรานต์ จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์
การรดน้ำดำหัวนั้นจะเป็นการขอโทษขออภัย ซึ่งกันและกัน ที่เคยล่วงเกินกันในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการล่วงเกินทางกาย ล่วงเกินทางวาจาหรือว่าการล่วงเกินทางใจ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ต่อหน้าหรือว่าลับหลังก็ตาม ประเพณีรดนำดำหัว หรือบางครั้งก็เรียกว่า ประเพณีปีใหม่เมืองจะมีในระหว่าง วันที่ 13 15 เดือนเมษายนของทุกปี หรือวันสงกรานต์นั่นเอง