ข่าวรอบชากังราวข่าวเด่นคนเด่น ภูธรดัง

พ่อเมืองคนใหม่ สักการะศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 น.นายประมวล รุจนเสรี อดีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร (ปี 2526-2529 /อดีตอธิบดีกรมการปกครอง/อดีต รมช.มหาดไทย/พาบุตรชาย นายชาธิป รุจนเสรี จากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ในโอกาสรับคำสั่งเดินทางมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วย นางกาญจนี รุจนเสรี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม มาดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร

สักการะศาลหลักเมืองกำแพงเพชร สักการะศาลพระอิศวร เพื่อความสิริมงคลแก่ครอบครัวพ่อเมืองกำแพงเพชร โดยมี นายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร ในฐานะผู้จัดการปกครองศาลเจ้า นายพิพัฒน์ จงมีความสุข ประธานสภาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร สมาชิกสภาฯ นางศศิธร ศิริพงษ์ รองปลัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร  หัวหน้าส่วนการงาน,สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชรร่วมให้การต้อนรับ

เจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร เป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า 700 ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์(เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ทำด้วยศิลาแลงรูปกลม ยาวประมาณ 2 เมตร ผังโผล่พื้นมาประมาณ 1 เมตร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากชาวจังหวัดกำแพงเพชรจะเดินทางมาขอพรสิ่งใดสมหวังแล้วก็จะกลับมาแก้บนได้หัวหมูพวงมาลัยดอกดาวเรืองสีเหลือง เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ นักท่องเที่ยวที่ผ่านมาต่างก็แวะสักการะกันไม่ขาดสาย เจ้าพ่อหลักเมืองมีการบูรณะมาต่อเนื่องเนื่องจากกาลเวลาที่ผ่านมาทรุดโทรม จึงได้มีการปรับปรุงศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ให้สมฐานะการเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

พระอิศวรกำแพงเพชร ศิลปกรรมอยุธยาที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมรแบบบายน รอบฐานมีจารึกระบุมหาศักราช 1432 (พุทธศักราช 2053) อันเป็นปีที่เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชไต้ประดิษฐานเทวรูปนี้เพื่อให้คุ้มครองมนุษย์และสัตว์ที่อาศัยอยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร ตลอดจนยังกล่าวถึงการกระทำสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งซ่อมแชมวัตวาอารามพระอิศวรในรูปสัญลักษณ์และขุดลอกคลองซักน้ำส่งไปหล่อเลี้ยงที่เมืองบางพาน ทั้งนี้เพื่ออุทิศถวายแต่พระมหากษัตริย์อยุธยา 2 พระองค์

รูปเคารพแทนองค์พระอิศวรที่แสดงออกในรูปสัญลักษณ์ เรียกกันว่า ศิวลึงค์ ลักษณะเป็นทรงกระบอกปลายมนคล้ายอวัยวะเพศชาย ศิวลึงค์ที่พบในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เคลื่อนย้ายได้ขนาดเล็กน้ำหนักเบา และศิวลึงค์ที่อยู่ติดกับที่ เคลื่อนย้ายไม่ได้ โดยทั่วไปมักแบ่งศิวลึงค์เป็นสามส่วน คือ ส่วนล่างสุดเป็นทรงสี่เหลี่ยม เรียกว่า พรหมภาค หมายถึงพระพรหม ส่วนกลางเป็นทรงแปดเหลี่ยมเรียกว่า วิษณุภาค หมายถึงพระนารายณ์ และส่วนยอดเป็นทรงกระบอกปลายโค้งมน เรียกว่ารุทรภาค หมายถึงพระอิศวร

พระอิศวรเมืองกำแพงเพชร เมืองกำแพงเพชรปรากฏเทาสถานในศาสนาฮินดูเพียงแห่ง เดียว คือ ศาลพระอิศวร ณ ที่นี้ได้คันพบ เทรูปพระอิศวรสำริต ซึ่งชาวเยอรมันนามว่า นายรัสต์มัน (J.E. Rastmann) ได้ลักลอบตัดพระเศียรและพระกรจะนำออกนอกประเทศแต่ถูกจับได้เสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงมีรับสั่งให้นำพระเศียรและพระกรที่ถูกตัดมานั้นเชื่อมติดกับองค์เทวรูปตังเดิม แล้วให้นำไปประดิษฐานที่มิวเซียมหลวงวังหน้า (Royal Museum, Bangkok)ต่อมาพุทธศักราช 2514 จึงอัญเชิญเทารูปพระอิศวรมาประดิษฐานณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ เทวรูปพระอิศวรจึงเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่าเป็นพิเศษทั้งทางต้านประวัติศาสตร์และศิลปกรรม แสดงถึงความเชื่อและความศรัทธาของผู้คนตั้งแต่สมัยโบราณ ความก้าวหน้าด้านวิทยาการหล่อโลหะ รวมทั้งยังเป็นปูชนียวัตถุที่ชาวเมืองกำแพงเพชรให้ความเคารพนับถือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมระยะเวลากว่า 500 ปี

คลิ๊กข่าว

 

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า