เครือข่ายความร่วมมือทางการแพทย์โรค NCDs หัวใจและหลอดเลือด – ความดันโลหิตสูง
วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2565 เวลา 8.30 น. มีประชุมโครงการเครือข่ายความร่วมมือทางการแพทย์โรค NCDs หัวใจและหลอดเลือด – ความดันโลหิตสูง พิธีเปิดผ่านวีดิโอคอลโดย นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ประธานในพิธี นายแพทย์9จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวรายงาน นายแพทย์วีระศักดิ์ ดำรงพงษ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวต้อนรับ แขกผู้มีเกียรติฯ ประกอบด้วยรองอธิบดีกรมการแพทย์,ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ผอ.มอบหมายให้ นพ.เจษฏา พวงสายใจ รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ) ณ โรงแรมชากังราวริเวอร์วิว จังหวัดกำแพงเพชร
จากแหล่งข้อมูลของกรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ พบว่า กลุ่มโรค NCDs(Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานโรคมะเร็ง และโรคปอดอุด กั้นเรื้อรัง ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มาตรฐานหลักเกณฑ์และรูปแบบ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อที่ดำเนินงานอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการเสียชีวิตมากที่สุด เป็นปัญหาสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง และกระทบต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งระบบกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชนในพื้นที่ทั่วประเทศผ่านสถานพยาบาล และเครือข่ายสุขภาพด้วยองค์ความรู้/เทคโนโลยี/ทรัพยากร ตามบริบทและความต้องการของพื้นที่ ในการนำแนวคิด ความรู้ข้อมูล เชิงประจักษ์ และประสบการณ์การแลกเปลี่ยน เพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยให้มากขึ้น ต่อยอดการบริหารจัดการระบบสุขภาพ และเป็น ความร่วมมือทั้งด้านบริการและวิชาการ ที่ทันสมัย เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพระบบการรักษา ที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เน้นการบริหารจัดบริการร่วมกัน และการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายในรูปแบบการเข้าไปรับรู้ รับฟังปัญหา และร่วมคิด ร่วมทำ (Co-creation) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยสนับสนุน เพื่อประชาชนที่ห่างไกลขาดโอกาส สามารถเข้าถึงบริการเฉพาะทางที่เหมาะสมมีมาตรฐาน และสมคุณค่าด้วยหลักการ The Best for The Most ที่จะช่วยในเรื่องลดการเหลื่อมล้ำ อีกทั้งแผนการดำเนินงานในรูปแบบการดูแลคนไข้จาก Hospital Based เป็น แบบ PersonalBased คือ การดูแลผู้ป่วยได้ที่บ้านโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล การสร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาวะ ของบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยและญาติในระหว่างการรักษาและหลังการรักษา ที่จะช่วยลดภาระโรคที่เกิดจาก พฤติกรรมที่สามารถป้องกันได้ ลดการรอคอย ลดความแออัด รวมทั้งการจัดทำมาตรฐานการดูแลรักษาทางการแพทย์วิถีใหม่(New Normal of Medical Health Care) เพื่อรองรับสถานการณ์การแพทย์ระบาดของโรคอุบัติใหม่ ที่มีผลกระทบโดยตรงกับโรคกลุ่ม NCDs ที่สามารถเข้าถึงทุกภาคส่วนเพื่อคล้องกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อผ่านแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ที่มีการดำเนินงานทั้งในภาพรวมของโรคไม่ติดต่อภายใต้แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน รวมทั้งการปรับสมดุล และพัฒนาระบบ การบริหารจัดการภาครัฐ จากความร่วมมือของภาคีเครือข่าย นอกจาก นี้ยังมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในกระทรวงสาธารณสุขและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกัน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้แก่บุคลากร ทางการแพทย์ในเขตสุขภาพ ในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบและยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายบริการและวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข สร้างสังคมที่มีจิตสำนึกด้านสุขภาพ ให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพดี มีระบบสาธารณสุข ที่ได้มาตรฐาน ที่ประชากรทุกระดับเข้าถึงได้ดีขึ้น ที่สามารถป้องกันได้เกิดเป็นสังคม บ่มเพาะจิตสำนึก การมีสุขภาพดีสูงขึ้น ตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืน”สู่เป้าหมายสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
