ข่าวเด่นคนเด่น ภูธรดัง

อัยการภาค 6 เดินหน้าคุ้มครองสิทธิ์สตรีเยาวชนและสถาบันครอบครัวระดับตำบลกำแพงเพชร

อัยการภาค 6 เดินหน้าคุ้มครองสิทธิ์สตรีเยาวชนและสถาบันครอบครัวระดับตำบล  จัดอบรมความรู้ด้านกฎหมายและบทบาทหน้าที่ ให้กับ 10 ศูนย์นำร่องจังหวัดกำแพงเพชร

นายสมพงษ์ เย็นแก้ว รองอธิบดีอัยการภาค 6

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 นายสมพงษ์ เย็นแก้ว รองอธิบดีอัยการภาค 6 เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่คณะกรรมการประจำศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครอง สิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัวประจำตำบล ที่ห้องประชุมอินทนิลวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร

นายสุรชัย รัตนวรรณี อัยการจังหวัดกำแพงเพชร

โดยได้รับการต้อนรับจาก นายสุรชัย รัตนวรรณี อัยการจังหวัดกำแพงเพชร ,อัยการจังหวัดคดีเขาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร ,อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการ บังคับคดีจังหวัดกำแพงเพชร นายธำรง อัศวสุธีรกุล ประธานคณะกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะที่ปรึกษาอัยการจังหวัดกำแพงเพชร เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการฝึกอบรม และผู้เข้ารับการฝึกอบรม

คณะกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะที่ปรึกษาฯ

เนื่องด้วย สำนักงานอัยการภาค 6 ได้จัดทำโครงการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัวประจำตำบล จำนวน 10 ศูนย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการรับเรื่องร้องเรียน คุ้มครอง ช่วยเหลือและประสานงานในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนและสถาบันครอบครัว และจะจัดให้มีการอบรมและชี้แจงบทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ ให้แก่คณะกรรมการประจำศูนย์ฯ ให้มีความรู้ตามกฎหมายด้านการคุ้มครองสิทธิเด็ก ความรุนแรงในครอบครัวและกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน

นายสมพงษ์ เย็นแก้ว รองอธิบดีอัยการภาค 6 ได้บรรยาย หลักสูตร “การคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน สตรี และสถาบันครอบครัวที่ถูกทารุณกรรม” และรายละเอียดของโครงการให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ดังกล่าวนั้นได้รับทราบ แนวทางบทบาทหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย และทราบถึงปัจจุบันสถานการณ์เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน และสถานบันครอบครัว นับว่าเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงและซ้ำช้อนมากขึ้น ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้เด็ก เยาวชน และครอบครัวขาคการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ปัญหาเด็กถูกกระทำความรุนแรง เด็กถูกทอดทิ้ง หรือเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่หมาะสม

ซึ่งหากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครอง และช่วยเหลือที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที จะก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมในวงกว้าง จึงต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัวในพื้นที่ระดับตำบล ทั้งนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 24กำหนดให้ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบไม่ว่าเด็กจะมีผู้ปกครองหรือไม่ก็ตาม

สำหรับโครงการฝึกอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เกิดความรู้ความเข้าใจและทราบถึงบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัว โดยการทำงานร่วมกันไปในทิศทางเดียวกัน ในลักษณะการทำงานอย่างเป็นทีม โครงการนี้ ผู้เข้าอบรมจะได้รับทราบแนวทางและเข้าใจ ในหลักกฎหมายและบทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเดีก เยาวชน และสถาบันครอบครัวในเขตตำบล ให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและทั่วถึง ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะได้มีส่วนในการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนตามนโยบายแห่งรัฐ ในการเสริมสร้างความเข็มแข็งของทุกชุมชนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการตนเองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมเพื่อให้ประชาชนมีความสงบสุขและ ได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาค

สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิเด็กเยาวชน และสถาบันในครอบครัว ในพื้นที่ระดับตำบลนั้นตาม พระราชบัญญัญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 24 กำหนดให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่คุ้มครองสวัสติ ภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบไม่ว่าเด็กจะมีผู้ปกครองหรือไม่ก็ตาม อีกทั้ง ตามมาตรา 29 ยังกำหนดให้พนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจได้แก่ผู้ใหญ่บ้านและกำนัน และเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำตำบล มีหน้าที่ช่วยเหลือ และรับแจ้งเหตุที่เด็กพึ่งได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ ตามกฎหมาย อีกทั้ง แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งมีอยู่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ที่รับตัวเด็กไว้รักษา ครูอาจารย์ ซึ่งอยู่สถานศึกษาอยู่ในพื้นที่ตำบล ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กที่เป็นศิษย์ จะต้องมีหน้าที่ รายงานพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในกรณีที่ปรากฎชัดหรือน่าสงสัยว่าเด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการดูแลโดยไม่ชอบ

ทั้งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3 กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งหมายถึงผู้ใหญ่บ้านและกำนันและเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำตำบล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับแจ้งเหตุ ช่วยเหลือ แก้ไข ระงับเหตุรวมทั้งมีอำนาจส่งตัวผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับการรักษาของแพทย์รวมทั้งนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์

ผู้เข้าอบรมจากศูนย์ประสานงานอัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัวประจำตำบล จำนวน 10 ศูนย์ประกอบด้วย นายธวัช ฤกษ์หร่าย นายกเทศมนตรีตําบลขาณุวรลักษบุรี นายวสันต์ มุนินทร นายกเทศมนตรีตำบลนครชุม นายอานนท์ อภิชาติตรากูล นายกเทศมนตรีตำบลพรานกระต่าย นายสุวรรณ ศุภกิจเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว นายคมสัน ศุระศรางค์  นายกเทศมนตรีเมืองหนองปลิง นายภูษิต คําหล้า นายกเทศมนตรีตำบลคลองขลุง นางสาวประสพพร กระมล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเพชรชมภู นายกณฑ์ศกร ตั้งเขตการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไทรงาม นางสาวฐานภัทร อินเลี้ยง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา และกำนันผู้ใหญ่บ้านผู้แทนบริการสาธารณสุขผู้อำนวยการโรงเรียนเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจตัวแทนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและปลัดเทศบาลเข้าร่วมประชุมกันในวันนี้ / เรียบเรียง พิพัฒน์ จงมีความสุข ที่ปรึกษาอัยการฯ รายงานข่าว kppnews

คลิ๊กข่าว

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า