ข่าวรอบชากังราว

นครสวรรค์-กำแพงฯ เตรียมการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมชีวภาพ Bio Hub ด้านอ้อย

จังหวัดนครสวรรรค์ เตรียมการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมชีวภาพ Bio Hub ด้านอ้อย ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดกำแพงเพชร วันที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 9.00 น. นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ นายชวลิต แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายเฉลิม โกกนุทาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น ดร.ดารัตน์ ศิริวิริยะกุล วิภาตะกลัศ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร kTlS Group ทพ.สุพจน์ หวังปรีดาเลิศกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ นายมนต์ชัย รุ่งชาญชัย ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมประชุมเตรียมการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมชีวภาพ Bio hub ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดกำแพงเพชร

โดยมี ภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมฯ พร้อมแถลงข่าวการจัดตั้งศูนย์ ฯ ณ เจ้าพระยาคอนเว็นชั่น ฮอลล์ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ “สืบเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 โดยมี Bio economy เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S Curve) ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรและสร้างความยั่งยืนให้แก่ ประเทศด้วย จุดเด่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพืชเศรษฐกิจ ประเภทต่าง ๆ อาทิเช่น อ้อยมันสำปะหลังปาล์มน้ำมันเป็นต้นทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะ พัฒนา Bio economy ให้ประสบความสำเร็จได้

ทั้งนี้ บริเวณภาคเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะ จังหวัดนครสวรรค์และ กำแพงเพชร ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจข้างต้น โดยเฉพาะ อ้อย รวมถึงมีภาคเอกชนที่มีความพร้อมในการต่อยอดผลผลิตภาคเกษตรไปสู่ ภาคอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างจึงเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องของโครงการ Bio economy ของประเทศไทย และในปัจจุบันจังหวัดนครสวรรค์ได้มีความคืบหน้าในการลงทุนเพื่อก้าวสู่ Bio economy ไปแล้วโดย บริษัท เกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนลชูการ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ซึ่งเป็นโรงงานผลิตน้ำตาลและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องแบบครบวงจรรายใหญ่ของ ประเทศ ได้ร่วมลงทุนกับ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท ในเครือ ปตท. ซึ่งเป็นเรือธงในการประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมโครงการ นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์หรือ NBC จึงได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโดย บริษัท จีจีซีเคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด หรือ GKBI ซึ่งร่วมลงทุนในสัดส่วน 50:50

โครงการระยะที่ 1 ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2562 ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเอทานอล โดยใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบกำลังการผลิต 600,000 ลิตรต่อวันรวมถึงโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 85 มกะวัตต์และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเงินลงทุนโดยรวมประมาณ 7,500 ล้านบาท ปัจจุบัน เริ่มเดินเครื่องผลิตแล้วตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2565 ที่ผ่านมานี้

นอกจากนี้ ในโครงการระยะที่ 2 ยังได้รับความสนใจจาก บริษัท Nature Work สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็น บริษัท ผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PLA รายใหญ่ของโลกเข้ามาลงทุน งานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PLA แห่งที่ 2 เพื่อรองรับการเติบโตของความ ในอนาคตโดยจะมีมูลค่าการลงทุนกว่า 15,000 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโรงงาน ในปี 2565 นี้ และจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2567

อย่างไรก็ตาม ยังมีนักลงทุนต่างประเทศรายอื่น ๆ อีกหลายรายที่มีความสนใจเข้ามาลงทุน และอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนั้น จึงเป็นการดีที่ภาครัฐ จะเข้ามามีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ เช่น ระบบโครงสร้างพื้นฐาน, ระบบขนส่ ฯลฯ เพื่อให้พร้อมสำหรับรองรับการขยายตัวของ bio hub ด้านอ้อยในพื้นที่อันจะก่อให้เกิด ประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากมาย อาทิเช่น

1) การพัฒนาองค์ความรู้สมัยใหม่ด้านเกษตรกรรมครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกกว่า 100,000 ไร่

2) เพิ่มรายได้เกษตรกร เป็นประมาณ75,000 บาท/ราย/ปี

3) เกิดการจ้างงานด้านเกษตรกรรมกว่า 10,000 ครัวเรือน

4) เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทางกว่า 200 ตำแหน่ง

5) มีการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศด้านเคมีและพลาสติกชีวภาพ 10,000 – 30.000 ล้านบาท ภายใน 5-7 ปี

6) เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และการต่อยอดการวิจัยและเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง

สุดท้ายนี้การที่ bio hub ด้านอ้อยจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้นปัจจัยสำคัญที่จำเป็น ก็คือ การสร้างความมั่นคงทางวัตถุดิบดังนั้นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ในการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการปลูกอ้อยของเกษตรกรจึงเป็นอีกภารกิจหนึ่ง ที่สำคัญที่ต้องขับเคลื่อนให้สำเร็จต่อไป เพื่อให้มีวัตถุดิบป้อนเข้าสู่ Bio hub อย่างเพียงพอ

ขอบคุณ ภาข่าว / ข่าวนคร AEC

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า