ข่าวรอบชากังราวข่าวเด่นธุรกิจท่องเที่ยวเทศบาล

เมืองชากังราว สืบสานประเพณีลอยกระทงเรียบง่าย ปลอดภัยโควิด-19

ประเพณีลอยกระทงธารประทีป

ปี พ.ศ. 2564 ที่จังหวัดกำแพงเพชร จะมีประเพณีลอยกระทงที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เมืองกำแพงเพชรมีแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ไหลผ่านภาคกลางเมืองฝั่งตะวันออกเป็นเมืองของกำแพงเพชรส่วนฝั่งตะวันตกเป็นเมืองนครชุม ทั้ง 2 ฝั่งต่างมีวิถีชีวิตที่อยู่ริมน้ำทั้งบ้านเรือนอาศัยการทำมาหากินและทิวทัศน์ที่สวยงาม

เทศบาลเมืองกำแพงเพชรในทุกปีจะจัดงานประเพณีที่ริมเขื่อนหน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสิริจิตอุทยานริมปิง ที่กลางแม่น้ำจะมีกระทงใหญ่ระดับชั้น 4 อย่างสวยงาม แต่มาในปีนี้งานประเพณีจำเป็นต้องงดจัดอย่างเป็นทางการเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 นั่นเอง เพื่อเป็นการรักษาและป้องกัน นายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิชนายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร 18 ที่นั่ง 3 เขตเลือกตั้ง รวมทั้งประธานชุมชน และหัวหน้าส่วนราชการทุกภาคส่วน มีมติเห็นชอบร่วมกันเพื่อพี่น้องประชาชนจะได้ไม่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย 

เทศบาลเมืองกำแพงเพชรได้จัดเตรียมสถานที่และมาตรการในการคัดกรองอย่างเข้มข้นที่บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำปิงถึงแม้จะไม่ได้จัดแต่ก็ได้ทำกระทงใหญ่เป็นสัญลักษณ์และสีสันของประเพณีเพื่อให้ประชาชนได้มาร่วมลอยกระทงกันอย่างเรียบง่ายโดยไม่มีการจัดมหรสพหรือการประกวดใดๆในพื้นที่ และคณะผู้บริหารก็ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายของประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาลในปีนี้ได้รับเกียรติจากนายเชาวลิตรแสงอุทัยผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นางนวลจันทร์ แสงอุทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร  นายบุญช่วย หอมยามเย็นรองผู้ว่าฯ นางสาวสุพัตรา คล้ายทิมรองผู้ว่าฯ นายสุวิทย์  สันตติวงศ์ไชยปลัดจังหวัดฯ  แต่งกายด้วยผ้าไหมไทยมาร่วมลอยกระทงกันที่บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำปิงพร้อมกับพี่น้องประชาชนชาวเมืองกำแพงเพชร ได้รับการต้อนรับจาก นายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิชนายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร และคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองกำแพงเพชร นายนพพร ทองอ่อน ปลัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชรนำส่วนราชการเข้าร่วมประเพณีกระยาพร้อมเพียง

วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขึ้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง  ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน 

ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า 

ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศที่ว่า”ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย…” 

เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า “ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน” พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า “เรือลอยประทีป” ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย

เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง  เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์  เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้  

เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน  เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านไว้อีกด้วยนั่นเอง / เรียบเรียงรายงาน  kppnews

คลิ๊กข่าว

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า