ศูนย์เด็กพิเศษ สืบสานประเพณีลอยกระทง
สืบสานประเพณีลอยกระทง
ศูนย์เด็กพิเศษจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมสืบสานประเพณีให้เด็กได้เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมและโค่กหนองนา
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 11:00 น. นายสมจิตร ประดิษฐ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เปิดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
โดยนายวิรัช สิทธิจารย์ ครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วยคณะกรรมการจัดกิจกรรมลอยกระทง ประจำปีการศึกษา 2564 กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมลอยกระทงเป็นส่วนหนึ่งในโครงการกิจกรรมนักเรียนจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมไทยตามศักยภาพของผู้เรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนตามปกติ เกิดการพัฒนาอย่างรอบด้านทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม’เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรมจริยธรรม ระเบียบ วินัย ตระหนักถึงประโยชน์เพื่อสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามมิให้สูญหาย และเป็นการส่งเสริมสืบทอดประเพณีอันดีงามให้คงอยู่สืบไป ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร จึงจัดกิจกรรมลอยกระทงขึ้น ณ “โคกหนองนา แห่งน้ำใจและความหวัง” ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติ
โดยจัดการองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และประสบการณ์ของนักเรียนได้แก่ กิจกรรมการประดิษฐ์กระทง และกิจกรรมลอยกระทงจากกะลามะพร้าวด้วยการนำวัสดุจากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นการลดขยะมูลฝอยในสถานศึกษา ในวันนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 20 คน ครูจำนวน 45 คนและ ผู้ปกครองจำนวน 10 คน รวม 75 คน ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้ปฏิบัติมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสกลัวหน้า 2019 อย่างเข้มข้นอีกด้วย
นายสมจิตร ประดิษฐ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่าประเพณีลอยกระทง ประเพณีที่มีคุณค่า ในเรื่องการรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา การขอขมาแก่พระแม่คงคา และการรู้ถึงคุณค่าของแม่น้ำลำคลอง อัน เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการดำเนินชีวิตในปีนี้เรามี “โคก หน่อง นา” แหล่งเรียนรู้ที่เราจัดให้นักเรียนของเราได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ผ่านธรรมชาติ ซึ่งมีความยากง่ายไปตามศักยภาพของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น บนหลักคิดของความยั่งยืนต่อไป