วิจัยกล้วยเตี้ย..สู้ลม..หนุนเพิ่มพื้นที่ปลูกกล้วยไข่กำแพงฯ
สืบเนื่องจากพื้นที่ปลูก กล้วยไข่ จังหวัดกำแพงเพชร ลดลง จากเดิม นับหมื่นลดลงหลายพันไร่ เหลือเพียงพันกว่าไร่ สาเหตุหลักมาจากดูแลยาก ลมพัดแรงต้นหักโค่นขาดทุน เลยหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศึกษาวิธีการบังคับเพื่อลดความสูงของกล้วยไข่ โดยใช้สารควบคุมการ เจริญเติบโต ภายใต้งบประมาณในการดำเนินการ โครงการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (InnoAgri) เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรภาคเหนือ (กล้วยไข่)
รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม นายสำราญ รอดเพชร ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นายกุศล เอี่ยมทรัพย์ นักวิจัยอาวุโส (วว) ร่วมเปิดกิจกรรม “กล้วยเตี้ยสู้วาตภัย”โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่าของผลผลิตกล้วยไข่ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและรายได้ของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร ที่แปลงสาธิตและทดลองกล้วยไข่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดย นายเชาวลิตร แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายประสิทธิ์ อินทโชติ นายอำเภอเมืองกำแพงเพชร นายสุวรรณ ศุภกิจเจริญ นายก อบต.สระแก้ว คณะแม่บ้านมหาดไทย, สนง.สภาเกษตรกร, สนง.เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่แปลงใหญ่ จังหวัดกำแพงเพชร ร่วมต้อนรับ
รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าว เป็น โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่าของผลผลิตกล้วยไข่ ส่งเสริมเศรษฐกิจและรายได้ของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิตกล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาการหักโค่นจากวาตภัยแล้ว ต้นเป็นทรงพุ่มไม่สูงลำต้นใหญ่กว่าเดิม ผลของกล้วยรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงความอร่อยเป็นเอกลักษณ์ และยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อให้เกษตรกร ก้าวไปสู่มาตรฐาน ด้วยงานวิจัย ได้มากขึ้นด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่า กล้วยไข่กำแพงฯเป็นผลไม้ประจำถิ่นที่ผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่น เทศกาล สารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง” แต่ปัจจุบันพื้นที่การปลูกกล้วยไข่ลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาลมพายุ ทำให้ต้นกล้วยไข่เกิดการโค่นล้มขณะที่ใกล้ได้รับผลผลิต ทำให้ชาวสวนเกิดความเสียหาย บางรายเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น
จังหวัดกำแพงเพชร จึงได้ส่งเสริมและเพิ่มพื้นที่การปลูกกล้วยไข่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้คิดค้นวิจัยการปลูกกล้วยไข่ต้นเตี้ย เพื่อสู้วาตภัย เพื่อแก้ปัญหาการหักโค่นจากลมพายุได้แล้ว
รวมถึงจังหวัดกำแพงเพชร จะมีการส่งเสริมให้ปลูกกล้วยไข่ในโรงเรียน เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้การผลิตกล้วยไข่ และยังปลูกฝังให้เกิดความรักและหวงแหนในพืชซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรอีกด้วย