“พรานกระต่าย” จัดงานประเพณีลอยกระทงประกวดนางนพมาศ
มืองพานกระต่าย เป็นเมืองเศรษฐกิจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา นายอานนท์ อภิชาตตระกูล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพรานกระต่าย ได้จัดงานประเพณีลอยกระทงเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามและวัฒนธรรมของไทยโดยจัดขึ้นที่ภายในวัดกุฏิการาม อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
นอกจากจะร่วมลอยกระทงซึ่งเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ เพื่อบูชาพระแม่คงคาหรือเทพเจ้าที่ประทานน้ำมาให้ความอุดมสมบูรณ์ นอกจากจะขอขมาพระแม่คงคาแล้ว ก็ยังมีความเชื่อกันอีกว่าการกระทงนั้นเป็นการลอยทุกข์ลอยโศกและสิ่งไม่ดีในชีวิตออกไปอีกด้วย
ซึ่งในปีนี้วันลอยกระทงตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง ประชาชนชาวอำเภอพรานกระต่าย ก็มาร่วมประเพณีนี้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้แล้วภายในงานก็ยังมีกิจกรรมสืบสานประเพณีอันดีงามก็คือการประกวดนางนพมาศ
นางนพมาศ หรือบ้างก็เรียกกันว่า เรวดี นพมาศ เกิดในรัชกาลพระยาเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนางเรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท มีรูปสมบัติและคุณสมบัติที่งดงาม ได้รับการอบรมจากบิดา มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ การช่างของสตรี ตลอดจนการขับร้องดนตรี สันนิษฐานว่า นางนพมาศ ได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระยาลิไท ในยุคสุโขทัย และเป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอก ตำแหน่ง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งกล่าวกันว่า นางนพมาศ เป็นบุคคลที่ฉลาดถ่อมตัวเป็นอย่างยิ่ง จนได้สมญาว่า “กวีหญิงคนแรกของไทย” ดังเช่นที่มีข้อความเขียนไว้ว่า…
“ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อเสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน”
และนี่คือ ประวัตินางนพมาศ สนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า ที่เป็นหญิงงาม ฉลาด และเป็นผู้ประดิษฐ์กระทงรูปดอกบัว จนกระทั่งมาเป็นต้นแบบของการประกวดนางนพมาศ ใน วันลอยกระทง ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายท่านยังคงสงสัยว่า นางนพมาศ ในอดีตนั้นจะเคยมีตัวตนอยู่จริงหรือแค่ตำนาน ?!?
ขอบคุณข้อมูลจาก https://hilight.kapook.com/view/17597 wikipedia, รักบ้านเกิดดอทคอม, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ