“นายกชัยวัฒน์”ขับเคลื่อนนโยบาย บริหารพัฒนาเมืองกำแพงฯ
ที่ห้องประชุมชั้น 4 เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ของวันที่ 16 ตุลาคม 2563 นายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร นางโชติกา ฐิตะชนัคภัค นายนพร ปานชัย รองนายกเทศมนตรี และ นางศศิธร ศิริพงษ์ รองปลัดรักษาราชการแทนปลัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
พร้อมด้วยผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วนการงานผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ได้ร่วมประชุมผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการประจำเดือนนี้
ทั้งนี้ การประชุมเพื่อให้การปฏิบัติราชการของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหารและเพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารราชการประชาชนให้มีความคล่องตัวรวดเร็วมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงาน
ก่อนการประชุมอย่างเป็นทางการได้มีการแนะนำตัว นางสาวธีรนันท์ เที่ยงพนม พนักงานเทศบาลตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลลำประดา อำเภอบางบุญนาค จังหวัดพิจิตร มาดำรงตำแหน่งนักจัดการงานทะเบียนบัตรปฏิบัติการงานทะเบียนราษฎร์ฝ่ายปกครอง สำนักปลัดเทศบาลเทศบาลเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563
และอีกท่านหนึ่ง นางสาวศุทธินี ประวิตรตราวงศ์ พนักงานเทศบาล ตำแหน่งเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ปฏิบัติงาน กองคลังเทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ มาดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานทะเบียนปฏิบัติงานงานทะเบียนราษฎร์ฝ่ายปกครองสำนักปลัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563
ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาล
ภารกิจอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ พระราชบัญญัติ
กำหนดแผนและขั้นตอนกรกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และ
ตามกฎหมายอื่น ดังต่อไปนี้
๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
(๑) การจัดให้มีละบำรุงรักษาหงบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ (มาตรา ๓๖ (๒) มาตรา ๕๐
(๒) การสธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (มาตรา ๑๖ (๔)
(๓) การสาธารณูปการ (มาตรา ๑๖ (๕))
(๔) การควบคุมอาคาร (มาตรา ๑๖ (๒๘))
(๕) การผังเมือง (มาตรา ๑๖ (๒๕))
(๖)ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา (มาตรา ๕๑ (๗))
(๗)ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา ๕๑ (๗)
(๘) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (มาตรา ๑๖ (๒๖))
(๙) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอตรถ (มาตรา ๑๖(๓) (มาตรา ๕๑(๓))
๒. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(๓) การจัดการศึกษา (มาตรา ๑๖ (๙) (มาตรา ๕๐ (๖) )
(๒) การส่งเสริมกีฬา (มาตรา ๑๖ (๑๔))
(๓) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (มาตรา ๑๖ (๑๙)(มาตรา ๕o(๔))
(๔) การสังคมสงคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา๑๖)
(๕) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน (มาตรา๑๖(๒๐) (มาตรา๕๑ (๔)
(๖)ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ (มาตรา ๕๑ (๖))
(๗) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (มาตรา ๑๖ (๒๑)
(๘) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (มาตรา ๑๖ (๒๒)
๓. ด้นการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อยมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(๑) การักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (มาตรา ๕๐ (๑))
(๒) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและ
สาธารณสถานอื่น ๆ (มาตรา ๑๖ (๒๓)
(3) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา๑๖ (๑๒)
(๔) การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา ๑๖ (๑๗))
(๕) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน (มาตรา ๑๖ (๓o)
(๖) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา ๑๖ (๒๙))
๔ ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชกรรม และการท่องเที่ยว มีภารกิจที่
เกี่ยวข้อง ดังนี้
(๑) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากิจของราษฎร (มาตรา ๕๑ (๕)
(๒) การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ (มาตรา ๑๖ (๖))
(๓) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา ๑๖ (๗) มาตรา ๕๑ (๙)
(๔) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา ๑๖ (๘))
(๕) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (มาตรา ๑๖ (๑))
๕. ด้านการบริหารจัดการละการอนุรักษ์ทรัพยากรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่
เกี่ยวข้อง ดังนี้
(๑) การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จกบำไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม (มาตรา ๑๖ (๑๔)
(๒ การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา ๑๖ (๑๓)
(๓) การดูแลที่สาธารณะ (มาตรา ๑๖ (๒๗)
(๔) การกำจัดขยะมูลฝอย สิปฏิกูลและน้ำเสีย (มาตรา ๑๖ (๑๘) มาตรา ๕๐ (๓)
๖. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้
(๑) บำรุงรักษาศิลปะ จรีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนะธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา
๑๖ (๑๑) มาตรา ๕๐ (๘))
๗. ด้านการบริหารจัดการและสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(๑) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง (มาตรา ๕๐ (๕))
(๒) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน(มาตรา ๑๖ (๑๕))
(๓) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา ๑๖ (๑๖)
ภารกิจทั้ง ๗ ต้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจเทศบาลดังกล่าวสามารถจะแก้ไขปัญหาของ
เทศบาลได้โดยการจัดทำแผนพัฒนากำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานแต่
ละด้านให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่ชาติ แผนพัฒนาอำเภอฯ แผนพัฒนาจังหวัด นโยบายรัฐบาลและนโยบายของ
ผู้บริหารเทศบาลเทศบาลตำบลนคออก วิเคราะห์แล้วพิจารณาเห็นว่าภารกิจหลักและภารกิจรองที่
จะต้องดำเนินการ ได้แก่
ภารกิจหลัก และภารกิจรองที่เทศบาลจะดำเนินการ
ภารกิจหลัก
๑. การพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
๒. การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
๓. การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๔. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
๕. รักษาความสะอดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่ง
ปฏิกูล
๖. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
๗. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
๘. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
๙ ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
๑o. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๑๑. หน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล