ข่าวเด่นวาไรตี้

นักวิ่งมอบให้ สนาม อบจ.เครื่อง AED เครื่องกระตุกหัวใจ ช่วยชีวิตฉุกเฉิน

ชมรมก๊วนวิ่งสนามส้ม ชมรมแอโรบิค

มอบเครื่อง AED ติดตั้งที่สนามกีฬา อบจ.

เพิ่มโอกาสรอดชีวิตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

วันที่ 26 สิงหาคม 2563 นายสุนทร รัตนากร นายกอบจกำแพงเพชร มอบหมายให้ นายศุภชัย  ศรีงาม ผอ.กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พร้อมด้วย นายสมศักดิ์  นาคนาม  ผอ.โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร เป็นตัวแทนการรับมอบเครื่อง  ABC จากชมรมก๊วนวิ่งสนามส้มส้ม ชมรมแอโรบิค และผู้ใจบุญ ร่วมกันสมทบทุนซื้อเครื่อง AED  หรือเครื่องกระตุกไฟฟ้า มูลค่า 90,000 บาทโดย นายกิตติราช ชนะนิติธรรม นายประทวน​ เข็มเพชร​  นายธีรวิทย์​  บำรุงศรีนายปรีชา​ สือพัฒธิมา สมาชิกชมรมก๊วนวิ่งสนามส้มเป็นตัวแทนส่งมอบ ให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ติดตั้ง ณ สนามกีฬาชากังราวองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ได้ใช้ประโยชน์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินกับประชาชนที่มาออกกำลังกาย โดยโรงพยาบาลกำแพงเพชร พ.ญ.รจนา  ขอนทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกำแพงเพชร ได้ส่งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669 แนะนำการใช้เครื่อง AED  พร้อมฝึกปฏิบัติโดยละเอียด ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนที่มาออกกำลังกายเรียนรู้การฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องเป็นจำนวนมาก

เครื่อง AED เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบอิเล็กทรอนิกส์พกพา ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ได้รับการฝึกฝนการใช้ก็สามารถใช้เครื่องนี้ได้ ภายใต้คำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669  โดยเมื่อมีการเปิดการใช้งานของเครื่อง AED เครื่อง ก็จะสามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุด รูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องได้ โดยการรักษานั้นระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องจะออกคำสั่งให้เราเป็นผู้ ปฏิบัติตามได้ คือเริ่มแรกผู้ที่ทำการช่วยเหลือจะต้องเปิดฝาเครื่อง AED และฉีกซองบรรจุอิเล็คโทรด โดยแผ่นอิเล็คโทรดจะมีอยู่ 2ชิ้น คือ ชิ้นแรกจะต้องนำไปติดบนทรวงอกตอนบนของผู้ป่วย และแผ่นที่สองจะต้องติดบนผิวทรวงอกตอนล่างของผู้ป่วย จากนั้นเครื่อง AED จะ ทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งขณะนี้ห้ามผู้ที่ช่วยเหลือสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด จากนั้นเมื่อเครื่องวินิจเสร็จเสร็จแล้วจะขึ้นสัญญาณให้ทำการช็อคไฟฟ้า ให้ผู้ช่วยเหลือกดที่ปุ่มช็อคตามสัญญาณที่ปรากฏอยู่บนตัวเครื่อง และสลับกับการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหรือCPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึง โดยการช่วยเหลือควรทำภายใน 3-5 นาที จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า