สส.อนันต์ ผลอำนวย ปธ.คณะ กมธ.การสภา ติดตามผลักดันราคาพืชเกษตร หาแหล่งน้ำ ตรวจโรงงานผลิตเอทานอล รองรับมันสัมปะหลัง
นายอนันต์ ผลอำนวย สส.กำแพงเพชร ปธ.คณะ กมธ.การสภา ลงพื้นที่ติดตาม ผลักดันราคาพืชผลทางการเกษตร และ โรงงานผลิตเอทานอล รองรับมันสัมปะหลังนายอนันต์ ผลอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขต 3 ประธานคณะ กรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรพร้อมด้วย นายฐิตินันท์ แสงนาค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่ 3 นายเอี่ยม ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบูรณ์ กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ นายเพชรภูมิ อาภรณ์รัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขต 2 คณะที่ปรึกษาและนักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการ เจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางมาประชุม เพื่อติดตามผลการปฏิบัติตามมติของสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และจัดโครงการสัมมนาเรื่องบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการกับการแก้ไขปัญหาของประชาชน ที่จัดขึ้นโดยกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 7 และวันที่ 8 สิงหาคม 2563 ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร โดยได้รับการต้อนรับจาก นายเชาวลิตร แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร และ นายบุญปลูก บุญอาจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร รวมทั้งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในจังหวัดกำแพงเพชร นายอนันต์ ผลอำนวย สส.กำแพงเพชร ประธานกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ก็คือ เรื่องของการตรวจรายงานการประชุมและการติดตามมติที่ผ่านสภารัฐบาลได้ดำเนินการอย่างไร สำหรับที่จังหวัดกำแพงเพชร คณะกรรมการได้ศึกษาเรื่องข้าวโพดและมันสำปะหลัง เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มนี้มีความมั่นคง และรัฐบาลจะทำอย่างไรให้เกษตรกรมีความกินดีอยู่ดี จังหวัดกำแพงเพชรยัง มีโรงงานผลิตเอทานอล ต้นแบบ ซึ่งตั้งอยู่ในที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร คณะกรรมาธิการได้มาติดตามว่าโรงงานแห่งนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างมีความคืบหน้าไปถึงไหน ติดปัญหาอุปสรรคใดบ้างที่ต้องรับการแก้ไข โรงงานแห่งนี้เมื่อสร้างเสร็จก็จะนำพาไปสู่ ระบบกลุ่มสหกรณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่ามันสำปะหลัง ให้กับเกษตรกรได้มีคุณภาพชีวิตและเป็นอาชีพที่มั่นคง ซึ่งประเทศไทยมีมันสำปะหลังทั้งหมดก่อน 30 ล้านตัน ถ้าส่งเสริมและแปรรูป และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร จะส่งผลให้คนที่อยู่ในอาชีพนี้อยู่ได้อย่างถาวร เป็นเหตุผลที่กรรมการชุดนี้ได้เดินทางไปที่จังหวัดกำแพงเพชร ติดตามผลการดำเนินการของรัฐบาลต่อพืชมันสำปะหลังและโรงงานเอทานอลในจังหวัดกำแพงเพชรสำหรับปัญหาที่มาติดตาม เนื่องจากว่าโรงงานแห่งนี้มีการก่อสร้างไปแล้ว 7 ปีก็ยังไม่แล้วเสร็จ และเกษตรกรผู้ที่ปลูกมันสำปะหลังก็ยังคงประสบกับปัญหาและอุปสรรคอยู่หลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบชลประทาน จังหวัดกำแพงเพชรมีพื้นที่ทางการเกษตร 3 ล้านไร่ ขาดระบบชลประทานประมาณ 2 ล้านไร่ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังยังคงต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศซึ่งคณะกรรมการจะได้จัดการให้รัฐบาลนั้น ได้หาแหล่งน้ำเพื่อการปลูกพืชมันสำปะหลังให้มั่นคงอย่างเช่นอาจจะใช้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลหรือกรมน้ำบาดาล เข้ามาช่วยบริหารระบบชลประทาที่ไปไม่ถึง ในจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งหลังจากได้ข้อมูลในวันนี้แล้ว ก็จะนำไปเสนอรัฐบาลซึ่งคาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์เพื่อสรุปปัญหาและแจ้งต่อรัฐบาล เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและการใช้งบประมาณ ท่ามกลางสภาวะที่ประเทศกำลังประสบปัญหากับวิกฤตของวิกฤติเชื้อโคโรน่า 2019ส่วนบรรยากาศในที่ประชุม ได้รับฟังผลการดำเนินการตามมติของสภาผู้แทนราษฎร และได้ชี้แจงถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และร่วมรับฟังปัญหาแลกเปลี่ยนอุปสรรค ในการดำเนินการ จากตัวแทนผู้ประกอบการโรงงานแป้งและลานมันสำปะหลัง และตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง กันอย่างหลากหลาย ถึงปัญหาและอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแหล่งน้ำ เรื่องของราคา และเรื่องของศัตรูพืชที่ มาระบาดในจังหวัดกำแพงเพชร ส่งผลต่อการดำรงชีวิตในประจำวัน ของพี่น้องเกษตรกร ทางภาครัฐได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาและการช่วยเหลือเกษตรกรการ พัฒนานวัตกรรม ได้ใช้เวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้เกิดความยั่งยืนต่อไป เนื่องจากจังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังอันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากจังหวัดนครราชสีมาหลังจากนั้นคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มเติมจากมันสำปะหลัง หรือที่เรียกกันว่าโรงงานเอทานอล ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร โรงงานเอทานอลดังกล่าวนี้ มีชื่อเรียกว่าศูนย์การเรียนรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริหารจัดการธุรกิจย่อย จากมันสำปะหลังระดับชุมชนแบบครบวงจร ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับสำนักงานกรรมการอาชีวศึกษาและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว) โดยใช้พื้นที่ของวิลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชรเป็นสถานที่ตั้งดำเนินโครงการ โดยมีการลงบันทึกตกลงความร่วมมือครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคมพ.ศ 2557 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเพิ่มมูลค่าให้กับมันสำปะหลังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจเอทานอลจากมันสำปะหลังระดับชุมชน และยังเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่รวมไปถึงการพัฒนาด้านพลังงานทางเลือกของประเทศอีกด้วย