ข่าวรอบชากังราวข่าวเด่น

“ฝายมีชีวิต” ภูมิปัญญานวัตกรรม แก้แล้ง แก้น้ำท่วม ฟื้นฟูระบบนิเวศชุมชน

นายศักดิ์ชัย ส้มทับ ผู้จัดการ ศูนย์เรียนรู้ชีวิตพอเพียง (ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน) ลำดับที่ 1112 ของประเทศไทย ลำดับที่ 3 ของจังหวัดกำแพงเพชร บ้านดาดทองเจริญ หมู่ที่ 12 ตำบลอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ร่วมกันทำ “ฝายมีชีวิต” คืนชีวิตชุมชน ให้ป่าชมชื่น ผืนดินอุดม เป็นภูมิปัญญาและนวัตกรรม ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ทั้งยังรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศของชุมชนอีกด้วย

โดยการสร้างฝาย ที่มีโครงสร้างของฝายมาจากธรรมชาติ ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ เป็นกลไกบรรเทาความรุนแรงของน้ำหลาก และเก็บน้ำไว้ใช้เมื่อถึงฤดูน้ำแล้ง และยังเป็นการเติมน้ำใต้ดิน หรือ “ชลประทานใต้ดิน” ด้วยกลไกลทางธรรมชาติ

การทำ “ฝายมีชีวิต” นำไม้ไผ่ปักลงในลำน้ำ เป็นเสาเข็มเรียงกันผูกด้วยเชือก เพื่อยึดเสาให้แน่น จากนั้นใช้ทรายที่บรรจุใส่กระสอบ วางเรียงซ้อนกันในตัวฝาย เพื่อยกระดับน้ำขึ้น เป็นการกักเก็บน้ำและเป็นฝายที่น้ำไหลผ่านได้ตลอด

นายศักดิ์ชัย ส้มทับ ผู้จัดการศูนย์ฯ เปิดเผยว่า เบื้องหลังของการสร้าง “ฝายมีชีวิต” จะก่อให้เกิด “ชีวิต” ขึ้นกับพื้นที่และชุมชนท้องถิ่นนั้น 4 ข้อ

1.เกิดความมีชีวิตชีวาของผู้คนในท้องถิ่น เชื่อมความสัมพันธ์ให้แน่นเฟ้นมากขึ้น ผู้คนมาร่วมรับรู้ แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจร่วมกัน

2.มีการก่อสร้างที่เกื้อกูลชีวิต ให้พลังคนและวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่

3.ฟื้นฟูชีวิตในระบบนิเวศท้องถิ่น

4.เพิ่มศักยภาพการทำมาหากินของคนในท่องถิ่น เป็นแหล่งน้ำในการประกอบอาชีพ และแหล่งน้ำพักผ่อนเพื่อการท่องเที่ยว

เครือข่ายข่าว สมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า