ไม่มีอด..ผู้ว่าฯชวนอำเภอ ตำบลหมู่บ้าน ปลูกผัก ไว้กินเอง
ปลูกผักเสริมความมั่นคงทางด้านอาหาร เมื่อวันจันทร์ ที่ 20 เมษายน 2563 เวลา 16.30 น.จังหวัดกำแพงเพชรได้ดำเนินการแผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร”
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กลายเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ของโลกมีผู้ป่วยกระจายไป118 ประเทศ มีผู้ป่วยเพิ่มกว่าแสนชีวิต ผลกระทบของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยต้องชะงักงั้น การท่องเที่ยวที่เป็นเส้นเลือดสำคัญถูกกระทบธุรกิจโรงแรม และการท่องเที่ยวต้องปิดตัวไป สินค้าอุปโภคบริโภคกระทบหนัก หลายบริษัทต้องปิดตัวลง ประกอบกับความตื่นตระหนกของผู้คนที่เกรงว่าสินค้าอุปโภคบริโภคจะขาดแคลนดังปรากฎการณ์ประชาชนแย่งกันซื้อของในห้างสรรพสินค้าเพื่อไปกักตุนเป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9)ทรงพระราชทางแนวทางการสร้างพื้นฐานความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชน เพื่อให้พึ่งตนเองได้ ซึ่งจะเป็นทางออกสำหรับวิกฤตโรคระบาดและปัญหาภัยแล้ง ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้แปลงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในระดับครัวเรือน โดยรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือนทั่วประเทศ เพื่อส่งความมั่นคงทางอาหารในระดับครอบครัว และชุมชน โดยนั้นการพึ่งตนเอง และความสามัคคีของคนในชุมชน เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตในครั้งนี้
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ระดับครัวเรือน และลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตของประชาชน และเพื่อสร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มอาชีพ มีเป้าหมาย ดำเนินการทุกหมู่บ้าน ทุกครัวเรือนในประเทศไทยให้รับรู้และเกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ระหว่างวันที่ 1เมษายน – 30 มิถุนายน 2563 มีกิจกรรมทั้งหมด 6 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 จะพัฒนาใครเขา ต้องเริ่มจากตัวเราก่อน โดยให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคน ตั้งแต่ พัฒนาการจังหวัด/หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย/พัฒนาการอำเภอ จนถึงพัฒนากรปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน และสร้างกระบวนการเรียนรู้ในระดับบุคคลก่อนลงไปส่งเสริมให้ประชาชน ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563
กิจกรรมที่ 2 ผู้นำต้องทำก่อนโดยขอความร่วมมือและเชิญชวนให้ผู้นำร่วมกิจกรรมปลูกผักสวนครัว เพื่อเป็นแบบอย่าง สร้างกระแส และกระตุ้นให้กิจกรรมนี้ขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว จังหวัดกำแพงเพชรกำหนดดำเนินการปลูกผักในวันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563 เวลา 16.30 น.ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
กิจกรรมที่ 3 ผนึกกำลัง ตั้งระบบทำให้ครบวงจรให้อำเภอวางแผนการขับเคลื่อนร่วมกับส่วนราชการ/อปท./ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/องค์กรทางศาสนา/หน่วยงานในพื้นที่ และภาคีเครือข่าย สร้างชุดปฏิบัติการหมู่บ้าน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน/ส.อบต./ผู้นำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีพัฒนากรร่วมเป็นชุดปฏิบัติการของทุกหมู่บ้าน แบ่งหน้าที่ติดตาม และสนับสนุนการขับเคลื่อน
กิจกรมที่ 4 ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน ทีมปฏิบัติการหมู่บ้านลงไปให้คำแนะนำและกระตุ้นปฏิบัติการ โดยทำงานเน้นการพึ่งตนเอง ให้เรียนรู้กันภายในชุมชน มีการติดตามให้กำลังใจ ส่วนคนที่ทำสำเร็จ ให้ใช้เป็นตัวอย่างให้กับคนที่เริ่มต้น
กิจกรรมที่ 5 สร้างเครือข่ายขยายผล เชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์/ต้นกล้า ระหว่างชุมชน
กิจกรรมที่ 6 การคัดเลือกบุคคลตันแบบและเชิดชูเกียรติ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานในการขับเคลื่อน และสร้างตันแบบในการทำงาน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1 ระดับผู้บริหาร ซึ่งกำหนดนโยบายและผลักดันกิจกรรมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด/นายอำเภอ/พัฒนาการจังหวัด
2 ระดับผู้ปฏิบัติการ ที่มีครัวเรือนในความรับผิดชอบปลูกผักสวนครัวเกิน 90 ได้แก่ พัฒนาการอำเภอ/พัฒนากร
3 ระดับชุมชน ที่มีครัวเรือนปลูกผักสวนครัวเกิน 90% ได้แก่ ตำบล (นายก อบต./กำนัน) และหมู่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
ในการนี้ นายเชาวลิตร แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วย นางสาวสุพัตรา คล้ายทิม รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร, นางนวลจันทร์ แสงอุทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร, นายปราโมช เจนธัญกรณ์ พัฒนาการจังหวัดกำแพงเพชร, นายอำเภอเมืองกำแพงเพชร นายอำเภอลานกระบือ นายอำเภอคลองลาน นายอำเภอทรายทองวัฒนา นายอำเภอคลองขลุง, และพัฒนาการอำเภอทุกอำเภอร่วมดำเนินการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ปฏิบัติการ Quick Win 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ตามกิจกรรมที่ 2 “ผู้นำต้องทำก่อน” โดยมีการปลูกผักสวนครัวหลากหลายชนิด เช่น พริก, มะเขือ, ตะไคร้, มะนาว, กระเจี๊ยบเขียว, สลัดน้ำ คื่นช่าย, กะหล่ำปลี, ผักกาดฮ่องเต้, จิงจูฉ่าย สะระแหน่, ยี่หร่า, ผักกวางตุ้ง เป็นต้น//ข้อมูลข่าวเครือข่าย PR พช.ชากังราว