ข่าวรอบชากังราวข่าวเด่นวาไรตี้เทศบาล

กิจกรรมพื้นบ้านและท้องถิ่น”ชากังราวว่าวไทย”

นายปกฤณ์ คำเหลือง ปลัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร คำกล่าวรายงานปลัดเทศบาล กล่าวรายงานโครงการประกวดกิจกรรมพื้นบ้านและท้องถิ่น “ชากังราวว่าวไทย”ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ.2563วันเสาร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสิริจิตอุทยาน (ริมปิง)โดย นายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร เปิดกิจกรรมโครงการประกวดกิจกรรมพื้นบ้านและท้องถิ่น”ชากังราวว่าวไทย” ครั้งที่ 20ประจำปี 2563 กิจกรม อนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาและการละเล่นของท้องถิ่นไทย “ชากังราวว่าวไทย”ประเทศไทยมีการเล่นว่าวกันมาช้านานแล้ว บันทึกไว้ครั้งแรกก็คือ ในสมัยพระร่วง พงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า พระองค์ทรงปล่อยว่าว จนขาดลอยไปตกถึงเมืองตองอูในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปี พศ.2231 ลาอู แบร์ เขียนจดหมายเหตุไว้ว่าเจ้านายและขุนนางไทยนิยมเล่นว่าว สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ทรงโปรดว่าวจุฬาการเล่นว่าวครั้งประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อ พศ.2448 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเล่นว่าวหน้าพระที่นั่ง ประกอบด้วยวงมโหรี ปี่พาทย์ และมีรางวัลให้ผู้ชนะ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ได้ให้ความสำคัญต่อศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย จึงได้ดำเนินการจัดโครงการประกวดกิจกรรมพื้นบ้านและท้องถิ่น “ชากังราวว่าวไทย” ครั้งที่ 20ประจำปี พ.ศ.2563 กิจกรรม อนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาและการละเล่นของท้องถิ่นไทย “ชากังราวว่าวไทย”ขึ้นในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสิจิตอุทยาน (ริมปิง) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้.เพื่อฟื้นฟูและสืบสานว่าวไทยและการละเล่นพื้นบ้านให้คงอยู่สืบไป เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของช่างฝีมือพื้นบ้านไทยในท้องถิ่นที่ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ให้แก่ลูกหลาน  เพื่อเป็นการยแพร่องค์ความรู้เรื่องของการละเล่นพื้นบ้านว่าวไทย ให้เป็นมรดกตกทอดที่บรรพบุรุษของเราได้คิดค้นและถ่ายทอดมาสู่ลูกหลานในท้องถิ่น

สำหรับในปีนี้ เทศบาลเมืองกำแพงเพชรได้จัดให้มีกิจกรรม เชิญชมนิทรรศการ “ชากังราวว่าวไทย” อาทิ ประวัติความเป็นมาว่าวไทยนิทรรศการว่าว 4 ภาค

– การสาธิตการทำว่าวจากปราชญ์ชาวบ้าน จาก “กลุ่มอนุรักษ์ว่าวไทยทรงธรรม”

– การสาธิตการเล่นว่าวที่ถูกวิธี

กิจกรรมพื้นบ้านและท้องถิ่น “ชากังราวว่าวไทย” อนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาและการละเล่นของท้องถิ่นไทย “ชากังราวว่าวไทย”ได้รับความสนใจ จากเด็กเล็กไปจนถึงผู้ใหญ่ที่เคยสัมผัสกับบรรยากาศว่าวไทยในอดีตได้มาชมด้วยความรู้สึกที่มีความสุข แม้จะผ่านมาหลายสิบปี ปัจจุบันก็ยังมี ว่าวไทยให้เด็กได้เล่น มีกิจกรรมจากท้องถิ่นที่ยังสนับสนุนให้อยู่คู่กับสังคมวัฒนธรรมของชาวชุมชนกันต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า