สหกรณ์โคขุน ปางศิลาทอง รมช.เกษตรมอบโล่รางวัลแปลงใหญ่ปศุสัตว์ดีเด่น
วันที่ 14 กันยายน 2562 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบโล่รางวัล ผลการประกวดแปลงใหญ่ปศุสัตว์ดีเด่น ปี 2562 สหกรณ์โคขุนปางศิลาทอง ต.หินดาต อ.ปางศิลาทอง จ.กำแพงเพชร พร้อม นายอำพันธ์ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ,นายวิศิษฐ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ , นายเชาวลิตร แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร รมช.เกษตร เปิดเผยว่า โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ร่วมกับภาครัฐขับเคลื่อนการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี ของกระทรวงเกษตรฯ และด้านปศุสัตว์ ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน และกระทรวงเกษตรฯ ได้มีการจัดประกวดแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ดีเด่น ขึ้น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีการคัดเลือกแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์จากทั่วประเทศกว่า 200 แปลง และสหกรณ์โคขุนปางศิลาทอง ได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งมีผลการดำเนินการที่ดีเยี่ยม ถือว่าเป็นตัวอย่างเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เกษตรที่อื่นๆ พร้อมเตรียมจะนำไปขยายผลให้เกษตรกรกลุ่มอื่นทั่วประเทศนำไปใช้ สำหรับสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนปางศิลาทอง ได้รวมกลุ่มกันเป็นแบบสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน ได้จัดตั้ง ขึ้นเมื่อ ปี2549 มีสมาชิกเริ่มแรก 38 ราย ปัจจุบันมีสมาชิก 598 ราย ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคขุน และมีสินค้าที่จำหน่าย ได้แก่ เนื้อโคแปรรูป ชนิดหั่น ชนิดแช่แข็ง มีการทำธุรกิจแบบแฟรนไชส์ เป็นก๋วยเตี๋ยวเนื้อโคขุนปางศิลาทอง เป็นต้น จากการดำเนินงานในปี 2561 ที่ผ่านมา เกษตรกรมีรายได้ภาพรวม 3.24 ล้านบาท ปริมาณผลผลิตสัตว์รวม 1,800 ตัวต่อปี มีการลดต้นทุนการผลิตด้านอาหารสัตว์ 5% และเพิ่มน้ำหนักโค ได้ 5%
ทั้งนี้พร้อม ส่งเสริมการเลี้ยง โคเนื้อ และโคขุน จำนวน 1 ล้านตัว เพื่อส่งออกในตลาดจีน โดยเอกชนจีนได้แสดงความสนใจจะขอซื้อ โคเนื้อ และโคขุนจากประเทศไทย จำนวนมาก มีความต้องการโคเนื้อโคขุนที่มีน้ำหนัก 420 กิโลกรัมวันละกว่า 2,500 ตัว สำหรับเกษตรกรที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ สามารถรับได้กว่า 2 แสนรายทั่วประเทศ โดยจะมีแหล่งเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรหรือธกส.เพื่อซื้อลูกโคตัวละ 24,000 บาท น้ำหนักลูกโคจะต้องไม่น้อยกว่า 250 กิโลกรัมเพื่อนำไปเลี้ยง ให้ได้น้ำหนัก 450 กิโลกรัมก่อนขายให้โรงเชือดของจีนต่อไป โดยให้เกษตรกร เลือกลูกโคเอง และใช้โคในประเทศ เป็นหลัก ซึ่ง ธกส จะเป็นผู้จ่ายแทนเกษตรกรทั้งหมดซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 4%ด้วยรวมทั้งยังมีการทำประกัน การเสียชีวิต ของลูกโค ในโครงการทั้งหมด ตัวละ 400 บาท หากตาย ระหว่างการเลี้ยง เกษตรกรจะไม่ต้องรับภาระหนี้สิน จะของบประมาณ จากรัฐบาล ทำประกันให้กับโคในโครงการทั้งหมด ขณะเดียวกันยังมีการส่งเสริม การผลิตอาหารให้กับโคขุนในโครงการ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมีการรวมกลุ่ม ทางภาครัฐจะสนับสนุน ในการจัดซื้อเครื่องผสมอาหารสัตว์ให้เป็นไปตามสูตรของกรมปศุสัตว์ รวมทั้งแผนยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัยเป็นสินค้า GAP เพื่อเพิ่มมูลค่า ตลอดจนได้ส่งเสริมให้สมาชิกปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อเพิ่มรายได้อีกด้วย/เครือข่ายข่าว สมาคมนักข่าวส่วนกลางแะลท้องถิ่นกำแพงเพชร/สวท./ปชส.กพ.