หน่วยงานยุติธรรมวางพวงมาลาเนื่องในโอกาส”วันรพี””วันรพี”
นายอนันต์ คงชื่น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกำแพงเพชร
พิธีวางพวงมาลาถวายแด่พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์พระบิดาแห่งกฎหมายไทยเนื่องในโอกาส “วันรพี” นายเชาวลิตร แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
วันที่ 7 สิงหาคม 2562 เวลา 08.30 น. ที่ศาลจังหวัดกำแพงเพชร เช้าวันนี้ หน่วยงาน สังกัดกระทรวงยุติธรรมและส่วนราชการจังหวัดกำแพงเพชรร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายแด่พระบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์พระบิดาแห่งกฎหมายไทยเนื่องในโอกาส”วันรพี” โดย นายอนันต์ คงชื่น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกำแพงเพชร นายณัฐชัย มาประณีต ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร นายเชาวลิตร แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้วางพวงมาลาจนครบทุกหน่วยงาน จากนั้นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกำแพงเพชร ได้เป็นประธานจุดเครื่องทองน้อยหน้าพระรูปกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถวายมาลัยข้อพระกร พร้อมวางพวงมาลาและกล่าวสดุดี เทิดพระเกียรติและระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย”
ทั้งนี้ศาลจังหวัดกำแพงเพชร จัดกิจกรรมในวันรพี อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและระลึกถึงพระกรุณาธิคุณ โดยมีการจัดพิธีทางศาสนาและพิธีวางพวงมาลา สักการะพระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กล่าวสดุดีเฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร รวมทั้งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่ทรงมีต่อส่วนราชการอันเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมและวงการกฎหมายไทยคำกล่าวสดุดีพระเกียรติคุณพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์พระบิดาแห่งกฎหมายไทยโดย นายอนันต์ คงชื่น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกำแพงเพชร ,พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ประสูติแก่จอมมารดาตลับ ณ วันพุธขึ้น 11 ค่ำเดือน 11 ปีจอ ซึ่งตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม 2417เมื่อทรงสำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมในประเทศอังกฤษแล้ว พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมาย และสอบไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมภายในเวลา 3 ปี แล้วเสด็จกลับสยามประเทศ ได้รับการโปรดเกล้าให้เข้ารับราชการ ในกรมราชเลขานุการ และได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้ง เป็นองคมนตรีในปีเดียวกันนั้นแต่ในเวลานั้น เอกราชทางการศาลของประเทศสยาม ได้รับความกระทบกระเทือนเป็นอย่างมาก กล่าวคือ สยามต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้แก่ชาวต่างชาติ ที่มาพำนักในสยามประเทศหลายครั้ง ด้วยเหตุที่กฎหมายยังมีความล้าสมัยอยู่มาก พระองค์จึงทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ที่ จะเข้ารับราชการตุลาการ ทรงเข้าศึกษากฎหมายไทย โดยการค้นคว้าจากราชเลขานุการฝ่ายกฤษฎีกา โดยมีขุนหลวงพระยาไกรสี และเจ้าพระยามหิธร เป็นผู้ถวายความสะดวก โดยในปี พ.ศ. 2440 ทรงได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง 22 พรรษา พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงสนพระทัยและหาหนทาง ในการปรับปรุงแก้ไขจัดระเบียบศาล และการยุติธรรมทั่วประเทศให้เรียบร้อย ทรงมีพระราชดำรัสแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ว่ามี 2 แนวทางคือ การทำให้บ้านเมืองมีกฎหมายดี และการทำให้มีผู้พิพากษาที่ดีและมีคุณธรรม ทรงตรากฎ และคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการฝ่ายการศาลยุติธรรม ไว้หลายฉบับตั้งแต่ปี ร.ศ. 115 ถึงปี ร.ศ. 120 ทั้งหมดรวม 28 ฉบับ ต่อมาใน ร.ศ. 121 ได้ทรงดำรัส ให้ยกเลิกกฎเสนาบดีชุดก่อนเสียทั้งหมด และทรงตรากฎและคำสั่งออกใช้ใหม่ถึง 27 ฉบับ ซึ่งบรรดากฎและคำสั่งเหล่านี้ นับเป็นที่มาของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระธรรมนูญศาลยุติธรรมบางมาตราในปัจจุบันจนกระทั่ง พ.ศ 2426 พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงประชวร จึงทรงกราบบังคมทูลลาออก และได้เสด็จไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส แต่พระอาการไม่ทุเลาลง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เวลา 21.00 น.นับพระชนมายุได้ 47 พรรษา บรรดาศิษย์ และบุคลากรในวงการกฎหมายจึงเรียกวันที่ 7 สิงหาคมว่า”วันรพี” //สมานักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร / kppnews รายงาน