ผู้ว่าฯนำข้าราชการ ท้องถิ่น ประกอบพิธีวันจักรี
วันจักรี (Chakri Memorial Day) ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี อันเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขี้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี ในวันนี้จึงถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่พวกเราชาวไทยควรให้ความระลึกถึง กว่าจะมาเป็นสยามได้ในทุกวันนี้และในวันนี้วันที่ 6 เมษายน 2562 นายเชาวลิตร แสงอุทัยผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ประธานในพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประจำปี 2562 ถวายพานพุ่มเงินและพานพุ่มทองเพื่อเป็นการถวายราชสักการะ พร้อมด้วย นายไพโรจน์ แก้วแดง และนายเทวัญ หุตะเสวี รองผู้ว่าฯ นายพิสิษฐ์ แร่ทอง ปลัดจังหวัดกำแพงเพชร นายอนันต์ คงชื่น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกำแพงเพชร นายณัฐชัย มาประณีต ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร นางสาวนิตยา เมืองมูล อัยการจังหวัดกำแพงเพชร พล.ต.ต.จารึก ลิ้มสุวรรณ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร พ.อ.ประสาน แสงศิริรักษ์ รองผุ้บังคับการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดกำแพงเพชร พ.อ.ประทีป บุญทิพย์จำปา หน.ฝ่ายนโยบายและแผนการข่าว กอ.รมน.จว.ก.พ. ผู้แทน รอง ผอ.รมน.จว.ก.พ. (ฝ่ายทหาร) นายสุนทร รัตนากร นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร นายปริญญา เหล่าวชิรวงค์ เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร นายอำเภอทั้ง 11 อำเภอ รวมทั้งหน่วยงานราชการ ทุกภาคส่วนทั้งนี้รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปีเป็นวันจักรี และวันพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงก่อตั้งราชวงศ์จักรีอันเป็นที่รักและเคารพของปวงชนชาวไทยมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
วันจักรี ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี อันเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขี้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี ในวันนี้จึงถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่พวกเราชาวไทยควรให้ความระลึกถึงอีกทั้งยังเริ่มก่อสร้างพระนครแห่งใหม่ในนาม กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ ที่นับว่าเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ถัดจากกรุงธนบุรี ซึ่งเมื่อครั้งที่ กรุงธนบุรี เป็นราชธานีนั้น มีอาณาบริเวณรวมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เป็นเมืองหลวงที่มีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามใหม่ จาก กรุงเทพมหานคบวรัตนโกสินทร์ เป็น กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ซึ่งช่วงเวลาตั้งแต่ก่อตั้งกรุงเทพมหานครฯ เมื่อปี พ.ศ. 2325 มักเรียกกันว่า สมัยรัตนโกสินทร์ เช่นเดียวกันกับที่เคยเรียกยุคสมัยที่ผ่านมาในสยาม โดยพระเจ้าแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ได้สืบสันตติวงศ์ต่อเนื่องกันมาในราชวงศ์เดียวกันจนถึงปัจจุบัน มี 9 รัชกาล รวมระยะเวลาแล้วกว่า 234 ปีจากบันทึกตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริย์ 4 พระองค์ (รัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 4) ขึ้นประดิษฐานเอาไว้สำหรับให้พระมหากษัตริย์พระองค์ต่อๆ ไป ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปได้ถวายความเคารพสักการะ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละหนึ่งครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนสถานที่ประดิษฐานหลายต่อหลายครั้ง จนมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนย้ายพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริย์ 4 พระองค์มาไว้ ณ ปราสาทเทพบิดร ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระชนกชาถ ซึ่งพระที่นั่งสำหรับประดิษฐานพระบรมรูปองค์นี้ รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้ซ่อมแซมจาก พุทธปรางค์ปราสาทเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานพระนามว่า ปราสาทเทพบิดร โดยได้มีการซ่อมแซ่มและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาลแล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปขึ้นในวันที่ 6 เมษายนปีเดียวกัน อีกทั้ยังโปรดให้เรียกวันที่ 6 เมษายนนี้ว่า วันจักรี