กฐินสามัคคี วัดบ่อสามแสน เฉาก๊วยชากังราวทอด 1.5 ล้านบาท
วัดบ่อสามแสนทอดกฐินสามัคคีหลังวันออกพรรษาบริษัทเฉาก๊วยชากังราวเป็นเจ้าภาพทอดถวายจำนวน 1.5 ล้าน ร่วมเจ้าภาพหางกฐินอีกจำนวน 2 แสน บรรยากาศคึกคักผู้คนเต็มวัดร่วมทำบุญเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2561 ตรงกับแรม 2 ค่ำเดือน 11 ที่วัดบ่อสามแสนหมู่ 6 ตำบลหนองปลิงอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชรมีพิธีทอดกฐินสามัคคีประจำปี 2561 เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรมโดยมีพิธีตั้งองค์กฐินและเจริญพระพุทธมนต์ฉลององค์กฐินและพิธีทอดผ้ากฐินสามัคคีในวันเดียวกันโดยมี พระ ดร.เสริมวุฒิ โชติธัมโม,คุณอมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ ,นายสุรกิจ สุวรรณโรจน์ บริษัทเฉาก๊วยชากังราว จำกัดเป็นประธานและชาวบ้านบ่อสามแสน พร้อมด้วยประชาชนทั่วไปร่วมเป็นกรรมการอุปถัมภ์ในพิธี พระครูวชิรปัญญากร รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรเจ้าอาวาสวัดบ่อสามแสน พระครูพิพัฒน์ศีลสังวร เจ้าอาวาสวัดสันทรายมูล เจ้าคณะตำบลเมืองเล็น ต.สันทรายน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะสงฆ์ได้อนุโมทนากฐินกันตามประเพณี ส่วนอาหารก็มีเจ้าภาพนำอาหาร เครื่องดื่มหลายชนิดมาตั้งโรงทาน ให้ชาวพุทธได้รับประทานกันอย่างอิ่มหนำสำราญ และได้ร่วมกันแห่กฐินรอบอุโบสถ ประเพณีการทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน 1 เดือน หลังประเพณีออกพรรษา โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า5 รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ 1 ครั้งการทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐินกฐินแปลว่าอะไร? คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บ เพราะช่างยังไม่มี ความชำนาญ เหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บ ก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้า ในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณ จะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดา ก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)
ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทำอย่างไร..พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้การถวายผ้ากฐินนั้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพ อุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้กฐินวัดบ่อสามแสน ในปีนี้ บริษัทเฉาก๊วยชากังราวเป็นเจ้าภาพทอดถวายจำนวน 1,500,000 บาท ล้าน ร่วมเจ้าภาพหางกฐินอีกจำนวนหลายราย รวมยอดกฐิน 1,700,005 บาท เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ที่ยังต้องการปัจจัยในการบูรณะอีกจำนวนมาก / ชมรมสื่อมวลชนส่วนกลางและท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร