สืบสาน ประเพณีพิธีทอดผ้าป่าแถว วัดบาง
ทอดผ้าป่าแถว ถือเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นเอกลักษณ์แห่งเดียวในโลกนี้ เนื่องจากประเพณีการนุ่งห่มของพระสงฆ์ กล่าวคือ สมัยพุทธกาล พระสงฆ์ทั้งหลายต้องเก็บเศษผ้าที่ชาวบ้านทิ้งแล้ว เพราะเปรอะเปื้อนด้วยของไม่สะอาด เป็นต้น จากที่ต่าง ๆ เอามาซัก ตัด เย็บย้อม ทำผ้านุ่งห่มดูเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควร ชาวบ้านบางท่านประสงค์จะถวายผ้าแต่พระสงฆ์ก็รับไม่ได้ เพราะพระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้รับเพราะเกรงว่าจะเป็นการรบกวนชาวบ้าน และฟุ่มเฟือยเกินไป
เมื่อเป็นเช่นนี้ ชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะให้พระสงฆ์มีผ้านุ่งห่มอย่างเพียงพอ โดยการนำผ้าไปทิ้งไว้ตามที่ต่าง ๆ พระสงฆ์ไปพบเข้าพิจารณาดูแล้วไม่มีเจ้าของหวงแหน จึงนำมาทำเป็นผ้านุ่งห่ม
เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
และเทศกาลวันสำคัญของไทย
ชาวบ้านจะพร้อมกันมาทำบุญที่วัดทั้ง 3 คือ
วัดคูยาง วัดบาง และวัดเสด็จ
โดยแบ่งบุญต่าง ๆ ไปตามวัดทั้ง 3 ดังนี้ บุญตรุษ
(สิ้นเดือน4) บุญเข้าพรรษา
(กลางเดือน6) และบุญออกพรรษา
(กลางเดือน11) ทำที่วัดเสด็จ บุญสงกรานต์
(13เมษายน) บุญสารทไทย
(สิ้นเดือน10) และบุญผ้าป่าแถว
(เพ็ญเดือน12) ทำที่วัดบาง ผ้าป่าแถวก็จะมีขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 ณ วัดบาง
ต่อมาในงานประเพณีสำคัญ เทศกาลวันสารทไทย (แรม 15 ค่ำ เดือน 10)
งานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง
ได้จัดพิธีทอดผ้าป่าแถว บริเวณวัดพระแก้ว ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร