วาไรตี้

อบจ.กำแพงเพชร ทำโครงการ โคก หนอง นา โมเดล วิถีแก้วิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 30 ก.ค.60 ที่บริเวณ โคก หนอง นา โมเดล คลองลานพัฒนา ทุ่งนาบ้านมอตะแบก หมู่ 12 ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร  นายประชา เตรัตน์ ( อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ) ที่ปรึกษาและคณะทำงานรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ( อาจารย์ยักษ์ ) ประธานมูลนิธิสกิกรรมธรรมชาติ และประธานกรรมสารสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมโครงการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวคิด โคก หนอง นา โมเดลโดยมี นายภาสกร บุญญลักษม์  ปลัดจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานพิธี  พร้อมกับ นายบุญธรรม ทองพิจิตร นายอำเภอคลองลาน  นายปรีชา ฤกษ์หร่าย รักษาการแทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร นายดนัย ยอดนิล ท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร  นายอนันต์ ผลอำนวย อดีต ส.ส.และนายสำราญ ศรีแปงวงค์ อดีต ส.ส. จ.กำแพงเพชร และชาวบ้านกว่า 1,000 คนร่วมพร้อมช่วยกันปลูกต้นไม้ พืชพันธ์ต่างๆ และขุดร่องน้ำ  มีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ของหน่วยงานต่างๆ แปลงสาธิตการเรียนรู้ ที่สำนึกน้อมนำมาสู่การปฎิบัติ ตามแนวคิดทฤษฎีศาสตร์ของพระราชา ดังที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9 เคยตรัสไว้ว่า การขุดสระ ขุดแหล่งน้ำ ประชาชนทำเองไม่ได้ เนื่องจากไม่มีกำลังพอ รัฐก็ต้องเข้าไปช่วย หรือหากภาคเอกชนรายใดเข้าใจในทิศทางนี้ก็ควรที่จะเข้าไปช่วย ภาควิชาการ โรงเรียน วัดก็เข้าไปสนับสนุน เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าวิถีแบบนี้แหละที่จะทำให้ตัวเองอยู่ได้ สังคมอยู่ได้ ประเทศชาติก็อยู่ได้ ส่วนภาคประชาชนนั้นก็มีหน้าที่หลักคือ ต้องลงมือทำด้วยตนเอง รวมกลุ่มกัน คนไทยหกสิบกว่าล้านคนถ้าช่วยกันทำสัก 2-3 ล้านคน ลุกขึ้นทำกันจริงๆ จังๆ ปัญหาน้ำท่วมก็แทบจะ ไม่ก่อปัญหา แต่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจแล้วก็เพียรช่วยกันทำดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ( อาจารย์ยักษ์ ) ประธานมูลนิธิสกิกรรมธรรมชาติ และประธานกรรมสารสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวว่า โคก-หนอง-นา โมเดล  คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ  โดยมี น้ำ ป่า คนและดิน เป็นปัจจัยที่ต้องนำมาเป็นหลักในการทำงาน อย่างเป็นระบบดังนั้นกล่าวได้ว่าโมเดลที่เหมาะสำหรับที่มีแหล่งต้นน้ำ   ขณะที่ฝนตกลงมา น้ำที่ไหลจากป่าเขา ลงมาในพื้นราบ สู่แหล่งน้ำราบลุ่ม  ชาวไร่ ชาวนาเอาที่ดินทำเป็นโคกตามโมเดล “โคก-หนอง-นา” ก็จะมีน้ำในการเพาะปลูก จึงเป็นโมเดลที่เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ แก้วิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา  ซึ่งจริงๆแล้ว โมเดลที่ดีทำงานได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นของใหม่ คิดใหม่ ของนอก หากแต่เป็นโมเดลที่อยู่กับเรามานาน หากแต่เราหลงลืมไป อย่างวิถีชีวิต โคก นา หนอง นี้โคก คือดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคกหรือเนินดิน แล้วปลูก “ ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ” โดยการ ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน และปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศหนอง คือ การขุดหนองคดโค้ง และต่างระดับ  (หลุมขนมครก )  หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่ ให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้ ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำ กักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลากได้อย่างดีนา คือ แหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญ ก็คือ หัวคันนา ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำ ยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา ที่สำคัญจะเก็บน้ำไว้ทำนาได้ยามฝนทิ้งช่วง การควบคุมปริมาณน้ำในนา ช่วยควบคุมหญ้า โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง รากข้าวอินทรีย์ยาวและแข็งแรง หาอาหารได้ดี ทนโรค รวมทั้งปลอดสารเคมี  ปลอดภัยทั้งคนปลูก และ คนกินการทำการเกษตรด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์นี้ เหมาะกับพื้นที่น้ำหลากเพราะรากของข้าวจะเกิดขึ้นจำนวนมาก และหยั่งรากลึก โดยที่ไม่จำเป็นต้องเลือกพันธุ์ข้าวแต่อย่างใด เพราะสามารถที่จะทะลึ่งเหนือน้ำได้ ด้วยวิธีการทำนาที่เข้าใจธรรมชาติ ปลูกข้าวด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ค่อยๆ ปล่อยให้น้ำไหลลงไปข้าวก็จะไม่ตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวนาคนไทยสมัยก่อนมีชีวิตอยู่กับมันจริงๆ ที่มีน้ำท่วมหลากมาทุกปีก็ทำอย่างนี้แล้วข้าวก็ไม่เคยเสียหาย ทั้งๆ ที่ก็ไม่ต้องเป็นข้าวพันธุ์พิเศษ ทั้งนี้ทั้งนั้น สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และภาครัฐได้เข้าไปช่วยสนับสนุน ในการประยุกต์ใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหา วิกฤตชาติ ทั้งในเรื่องของ น้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสีย ให้เป็นรูปธรรมต่อไป/ข่าว//สมพงษ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า