วาไรตี้

อบจ.กำแพงเพชร ร่วมพิธีวางพวงมาลา วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

คณะผู้บริหาร และข้าราชการ อบจ.กำแพงเพชร ร่วมพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เช้าวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เวลา 08.30 น.  ณ อาคารหอประชุมใหญ่ ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร นายประสาส์นชัย  คงอรุณ เลขานุการนายก อบจ.กำแพงเพชร นำคณะข้าราชการ ประกอบด้วย สอ.นครไทย  ยวนแห่ว  รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร, นายสำเริง  สาระชาติ  หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด, นางสุภาศรี  ยวนแห่ว  ผู้อำนวยการกองกิจการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร,  นำคณะข้าราชการร่วมพิธีวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ เนื่องในวันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (วันคล้ายวันสวรรคต) เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เทศบาลเมืองกำแพงเพชร  อำเภอ  สถานศึกษา  โดยมีนายธานี  ธัญญาโภชน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กับพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังยกเป็นพระราชเทวี และมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือสมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ กรมหลวงโยธาทิพ หรือพระราชกัลยาณี ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชกุมาร” ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์ พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อน ๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหาริย์มหัศจรรย์ตามลำดับ คือ เมื่อพระนารายณ์มีพระชนม์ได้ 5 พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย หรือเมื่อพระนารายณ์มีพระชนม์ได้ 9 พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดี สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดีแรม 2 ค่ำเดือน 12จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคมพ.ศ. 2199) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระรามาธิบดี เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา  หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุก ๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มิเคยได้เป็นพระมหากษัตริย์ “ทรงธรรม” หรือ “ธรรมราชา” ในสายตาของทวยราษฎร์เลยแม้แต่น้อย ดังปรากฏใน คำให้การชาวกรุงเก่า ที่มีการเปรียบเทียบพระองค์กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็จะพบว่าเชลยไทยชื่นชมพระมหากษัตริย์พระองค์หลังเสียมากกว่า นอกจากนี้ ยังปรากฏในเอกสารของชาวตะวันตกที่ยืนยันความไม่เป็นที่นิยมของราษฎรอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้ ก็เพราะตลอดรัชสมัยของพระองค์ล้วนมีการสงครามทั้งกับต่างประเทศและการปราบกบฏภายในประเทศ ชาวนาจึงต้องถูกเกณฑ์ไปรบหรืออาจทนทุกข์เพราะความแร้นแค้นของภาวะสงคราม ยังความทุกข์สู่ทวยราษฎร์และไม่มีประโยชน์อันใดต่อชาวนา  พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์พระนารายณ์ราชนิเวศน์จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมายุ 56 พรรษา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า