ข่าวเด่นเทศบาล

ไหว้ครูช่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร

วันที่ 22 มิถุนายน 2560 เวลา 08.30 น. นางโชติกา ฐิตะชนภัค รองนายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร  สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนการงาน ร่วมพิธีไหว้ครูช่าง ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร บริเวณลานด้านหน้าสถานศึกษา

ในการนี้วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชรได้นิมนต์พระสงฆ์ 9 รูปและพร้อมพราหมณ์จัดทำพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในการไหว้ครูช่าง หรือ องค์พระวิษณุกรรม ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของช่างทุกศาสตร์ทุกแขนง เป็นโอกาสอันดีให้คณะครูอาจารย์และนักเรียนได้ร่วมกันไหว้องค์พระวิษณุกรรม เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ทั้งในการสอนศิลปะวิชาช่างทุกแขนงและรวมถึงการเรียนศิลปะวิชาช่างทุกแขนง ของทั้งอาจารย์และนักศึกษา เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชรจากนั้น นางโชติกา ฐิตะชนภัค รองนายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร ได้มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่น จำนวน 6 คนสำหรับประวัติขององค์พระวิษณุกรรมนั้นมีดังนี้
เทพแห่งวิศวกรรม คือ “พระวิศวกรรม” ที่คนไทยเรานิยมเรียกสั้น ๆ ว่า”พระวิศวกรรม” หรือเรียกตามความคุ้นเคย (ซึ่งพ้องกับชื่อของพระวิษณุ) ว่า “พระวิษณุกรรม” หรืออีกหลายชื่อเช่น “ พระพิษณุกรรม” “พระเวสุกรรม” “พระวิศวกรรมา” “ พระวิศวกรมัน” “พระเพชฉลูกรรม” “ท้าววิสสุกรรม” “ท้าวเวสสุกรรม” หรือ “ตวัสฤ”
คนไทยเราเรียกพระวิศวกรรมา ว่า “พระวิษณุกรรม” และในที่สุดก็กร่อนลงเหลือเพียง’พระวิษณุ’ ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยเรารู้จักมักคุ้นกันมากกว่า ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นนี่เอง ทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งวิศวฯ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สำหรับเทพแห่งวิศวฯ ตัวจริง คือ พระวิศวกรรมา หรือพระวิษณุกรรม นั้น ท่านเป็นทั้งสถาปนิกและวิศวกรที่มีความชำนาญงานช่างทุกแขนง ในตำนานพุทธศาสนาเล่าว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์ (ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา) นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรมายังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพานและอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้

ผลงานเด่นอีกหนึ่งอย่างก็คือ “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทวดานั้น พระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์
จากผลงานสรรค์สร้างที่ปรากฏมากมายนี้เอง เทพองค์นี้จึงได้ชื่อว่า “วิศวกรรมา” ซึ่งมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “ผู้ทำทุกสิ่งทุกอย่าง” (the “Universal Doer”) คือเป็น “นายช่างแห่งจักรวาล” นั่นเอง
ตำนานฮินดูกล่าวว่า พระวิศวกรรมา มีพระเนตร ๓ ดวง มีกายสีขาว ทรงอาภรณ์สีเขียว โพกผ้า มือถือคทา แต่ไทยนิยมวาดหรือปั้นรูปพระวิศวกรรมา ทรงชฎา มือถือจอบหรือผึ่ง (เครื่องมือสําหรับถากไม้ชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายจอบ แต่มีด้ามสั้นกว่า) และลูกดิ่ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางช่างอย่างชัดเจน
พวกช่างชาวฮินดูจะประกอบพิธีบูชาบวงสรวงพระวิศวกรรมา เพื่อขอพรให้ตนเองประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานกัน ในวันที่พระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ฤกษ์ภัทรบท ในวันนี้พวกช่างจะงดใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางช่างทุกชนิด พวกเขามีความเชื่อว่าพระวิศวกรรมาจะเข้ามาสถิตในใจ และดลบันดาลให้พวกตนมีความคิดความอ่านที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่ดี มีคุณภาพอยู่เสมอ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า