“ศาสตร์พระราชา“หลุมขนมครก แก้ภัยแล้ง คลองลาน
วันที่ 8 พฤษภาคม 2560 นายบุญธรรม ทองพิจิตร นายอำเภอคลองลานพร้อมด้วยนายแสวง จันเกิด ปลัดอำเภอคลองลาน นายอนุวัฒน์ สาน้ำอ่างปลัดอำเภอคลองลาน นายหนูเวียง นวลพุ่ม ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 บ้านเพชรนิยม และผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น อปท.ชาวบ้าน ได้ติดตามโครงการขุดลอกคลองป่าตะแบก ณ บริเวณ หมู่บ้าน ม. 2 บ้านเพชรนิยม ต.สักงาม อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
นายอำเภอคลองลาน เปิดเผยว่าช่วงต้นปี 2559 ปีที่ผ่านมา อำเภอคลองลานซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่จะมีน้ำจาก เขาอุทยานแห่งชาติคลองลานและอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไหลผ่านลงมาสู่พื้นราบ แต่ก็ประสบภัยแล้ง ทั้งแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกคลองลาน น้ำแห้งขอด ครั้งใหญ่ พร้อมๆกับหลายๆจังหวัดทั่วประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ และในช่วงหน้าฝนที่จะถึงนี้ แนวคิดศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2556 ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้งและปัญหาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก จึงร่วมกันศึกษาและนำ “ศาสตร์พระราชา” ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำอย่างแข็งขัน คิดจริง ทำจริง ร่วมมือจริง สู่เป้าหมายหยุดท่วมหยุดแล้ง มาใช้การขุดลอกคลองป่าตะแบกนี้ เป็นโครงการก่อสร้างงบประมาณกว่า 4 แสนบาท จากจังหวัดกำแพงเพชรโดยนายธานี ธัญญาโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ส่งมาให้ดำเนินการขุดลอกลำคลองป่าตะแบก ขนาดความกว้าง 16.00 เมตร ยาว 500 เมตร มีความลึก 3.50 เมตร จากต้นน้ำอุทยานแห่งชาติคลองลาน คือ น้ำตกเพชรจะขอ ผ่านหมู่บ้านท่ามะเขือ ต.สักงาม ออกมาทางหมู่บ้านคลองปิ่นโต โดยเป็นลำคลองสาธารณะ ซึ่งประชาชนและชาวเกษตรกรหลายๆหมู่บ้าน ทั้ง 2 ตำบล ก็จะได้รับประโยชน์จากน้ำ เพราะตลอดลำน้ำที่ไหล ก็จะมีหลุมขนมครกเป็นช่วงๆ เพื่อให้ชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ มีน้ำกักเก็บไว้ใช้อุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร ช่วงฤดูแล้ง
ซึ่งการขุดลอกคลองป่าตะแบกในครั้งนี้นำ ศาสตร์พระราชา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการจัดการน้ำแบบ “หลุมขนมครก ” ก็คือที่เป็นหนองเป็นสระส่วนหนึ่ง เป็นหลุมจากท้องไร่ ท้องนาส่วนหนึ่ง หลุมที่เกิดจากคลองไส้ไก่ที่อยู่ในครัวเรือนส่วนหนึ่ง เปรียบเสมือนว่าในพื้นที่หนึ่ง ถ้าน้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็วเช่นในพื้นที่ราบติดภูเขา หากไม่มีหลุมบ่อ ไม่มีหนองน้ำเลย ความแรงของน้ำจะทำลายทุกสิ่งไปยังพื้นที่ต่ำสุด ซึ่งจะได้รับความเดือดร้อนหนัก แต่ถ้าพื้นที่บริเวณนั้นสามารถสร้างหลุมขนมครกไว้รองรับน้ำ ความรุนแรงของน้ำก็สร้างปัญหาน้อยลง แล้วในหน้าแล้งน้ำในหลุมขนมครกก็ใช้ประโยชน์ได้ ไม่ไหลทิ้งไปเสียเปล่า
หลุมขนมครก คือการเก็บกักน้ำในทุกรูปแบบ โดยมีหลักการสำคัญคือพื้นที่ต้นน้ำต้องอนุรักษ์ฟื้นฟู ส่วนพื้นที่กลางน้ำจัดการกักเก็บน้ำ และพื้นที่ปลายน้ำต้องบำบัดและป้องกันเพื่อจัดพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเกษตร ด้วยการผสมผสานทฤษฎีแนวใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ทำได้ง่ายและกักเก็บน้ำได้จริง”ทั้งนี้ก็จะเริ่มจัดกิจกรรมรณรงค์จากต้นน้ำผ่านกลางน้ำสู่ปลายน้ำลำคลอง และชี้ให้เห็นว่าทุกคนมีโอกาสได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตน้ำ ขณะเดียวกัน ทุกคนสามารถมีส่วนช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ผ่านการสร้างต้นแบบจากศาสตร์พระราชาที่เรียกว่า หลุมขนมครก ” จึงเดินหน้ามุ่งเน้นการออกแบบที่ดินเพื่อการจัดการน้ำสร้างหลุมขนมครก ตามแบบฉบับของตนเองมีพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ในที่ดินของตนเอง เพื่อเป้าหมาย ร้อยพัน หลุมขนมครก อันนี้คือประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้แก่พี่น้องประชาชนชาวอำเภอคลองลานอีกด้วย// สมพงษ์ ไทยรัฐรายงาน