ข่าวรอบชากังราวข่าวเด่นข่าวเศรษฐกิจ

ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ประชุมหน่วยงานคลัง อุตสาหกรรมเอกชน

วันที่ 12 เมษายน  2560 เวลา 09.00 น. ที่ ห้องประชุมทุ่งเศรษฐี ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร  นายประสิทธิ์สืบชนะผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง  เดินทางมาตรวจราชการที่จังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วย นางนงนุช คุณรัตนไตรผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกิจการพิเศษระบบการเงินการคลัง ได้เดินทางตรวจส่วนราชการรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 18 ท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร

โดยมีนางสาวณัฐภัทร สุบุญ คลังจังหวัดกำแพงเพชร และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง ประกอบไปด้วยสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่กำแพงเพชร สำนักงานสรรพกรพื้นที่กำแพงเพชรสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กำแพงเพชรธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร ธนาคารกรุงไทยสาขากำแพงเพชร ธนาคารอาคารสงเคราะห์สาขากำแพงเพชร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธกส. ธนาคาร sme สาขากำแพงเพชรสำนักงาน คปภ.จังหวัดกำแพงเพชร นักวิชาการคลังชำนาญการสำนักงานคลังจังหวัดกำแพงเพชรภาคเอกชน นายมนต์ชัย รุ่งชาญชัย ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนด้านเศรษฐกิจจังหวัดกำแพงเพชร คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสรวิชญ์   ธันยบูรณ์สถาพร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดกำแพงเพชร  นายสมศักดิ์ ขำสกุล ประธานหอการค้าจังหวัดกำแพงเพชร

ในการทางมาตรวจราชการในพื้นที่กำแพงเพชร นายประสิทธิ์ สืบชนะ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เพื่อติดตามการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการและงานตามนโยบายกระทรวงการคลัง เช่น การลงทะเบียน ผู้มีรายได้น้อย เร่งรัดการเบิกจ่าย มาตรการด้านภาษี ด้านการเงินการธนาคาร เป็นต้น 

ในที่ประชุมทุกหน่วยงานได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับแผนงานโครงการที่จะดำเนินการในปีงบประมาณพ. ศ. 2560 โดยรายงานผลดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560 โดยเปรียบเทียบเป้าหมายตัวชี้วัดตามที่หน่วยงานหรือกระทรวงการคลังกำหนด สำหรับการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่วันที่ 3 -10 เมษายน 60 มีประชาชนมาลงทะเบียนดังนี้  สำนักงานคลังจังหวัดกำแพงเพชร  จำนวน 173 ราย,ธกส. จำนวน 16,543 ราย, ธนาคารออมสิน จำนวน 8,268 ราย,ธนาคารกรุงไทย จำนวน 8,707 รวม 33,691 รายสำหรับข้อเสนอแนะผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ได้ให้ข้อแนะแก่ ธกส.ส่งเสริมเกษตรทางด้านความรู้ เทคโนโลยี  การแปรูปผลผลิตทางการเกษตร และทฤษฎีหลักเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ยังได้แนะนำการพัฒนาพันธ์กล้วยไข่ ที่นับวันพื้นที่การเพาะปลูกน้อยลง เนื่องจากประสบปัญหาการเพาะปลูก ภัยธรรมชาติ หยุดเพาะปลูกเกษตรเชิงเดี่ยว เสริมการเพาะปลูกผสมผสาน  ใช้พื้นที่ให้เต็มประสิทธิภาพ และตลาดและบรรจุภัณฑ์ที่ยังไม่เหมาะสม ขณะที่ด้านการท่องเที่ยวต้องพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากท้องถิ่นนอกจากนี้ภาคเอกชนได้นำปัญหาการเพิ่มภาษีของรัฐ vat 7% ต่อผู้ให้เช่าโกดังเก็บสินค้าเก็บรักษาข้าว 15 ล้านกระสอบและมันเส้นเสนอต่อ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รวมทั้งปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคาร ด้วยเงื่อนไขวงเงินจำกัด ไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดหนี้ NPL รวมทั้งสภาพปัญหาอุปสรรคต่างๆ และแนวทางแก้ไขเสนอแนะก่อนปิดการประชุม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า