ข่าวสังคมข่าวเด่น

เฉาก๊วย ชาวกังราวทอดจุลกฐินวัดสันทรายมูล รวมปัจจัย 5.3 ล้านบาท

dsc_7307ข่าววันหยุด สัปดาห์นี้ ไปติดตาม การ เก็บดอกฝ้าย ทอฝ้าย ทอบุญ จุลกฐิน ข่าวออนไลน์ kppnews วันหยุดสัปดาห์นี้ ไปกันที่วัดสันทรายมูล บนถนนสันทราย – พร้าว ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่   คณะแสวงบุญ ครอบครัว ของ ดร.เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์และคุณอมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ ผู้ประกอบการบริษัทเฉาก๊วยชากังราวตราเพชร สินค้าโอทอปจังหวัดกำแพงเพชร  ได้เดินทางไปที่วัดสันทรายมูล วัดบ้านเกิดของคุณ แก้ว อมรรัตน์ สุวรรณโรจน์ ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามเยื้องหน้าวัดไปไม่ไกลนัก เพื่อประกอบพิธีทอดจุลกฐิน เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมาโดยก่อนหน้านั้น ได้ทอดผ้าป่าโครงการทั่วประเทศที่วัดศรีบุญเรือง อำเภอแม่สะเรียง และที่วัด พระธาตุดอยกองมู จังหวัดแม่ฮ่องสอนdsc_7638วัดสันทรายมูลตั้งอยู่เลขที่ 209 หมู่ 3 ตำบลสันทรายน้อยอำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่ มีพระครูพิพัฒน์ศีลสังวร ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสันทรายมูล ภายในพระวิหารประดิษฐาน พระประธาน“พระพุทธโคตมชัยมงคล” พระพุทธรูปปางมารวิชัย  ผนังด้านหลังเป็นพื้นสีแดงเขียนสีทอง ผนังด้านอื่นๆ เป็นภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ และวิถีชีวิตชาวบ้าน จิตกรรมฝาผนังของพระวิหารหลังนี้สวยงามประณีตมาก  พระเจดีย์ ศิลปะล้านนา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระวิหาร ฐานสี่เหลี่ยมยกสูง เหนือขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ต่อด้วยมาลัยเถาแปดเหลี่ยมซ้อนกัน 7 ชั้น รองรับองค์ระฆังทรงกลมหุ้มด้วยทองจังโกถึงส่วนยอด ยอดเจดีย์กางกั้นด้วยฉัตรสีทอง 9 ชั้นdji_0133พระอุโบสถ สถาปัตยกรรมล้านนา อยู่ด้านข้างพระวิหารทิศเหนือ จะเรียกว่าเป็นพระวิหารย่อส่วนก็คงไม่ผิดนัก เนื่องจากภายนอกอาคารมีลวดลาย สีสัน และการประดับตกแต่งคล้ายกับพระวิหารมาก ด้านหน้าพระอุโบสถมีพระสีวลีอยู่สององค์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย “พระพุทธชัยมงคลมหามุนี” เป็นพระประธาน ผนังก็มีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามไม่แพ้ภายในพระวิหารเลย  วัดสันทรายมูลอาจไม่ใช่พระอารามเก่าแก่อายุหลายร้อยปีเหมือนวัดอื่นๆ ในเชียงใหม่ แต่ก็จัดว่าเป็นวัดที่สวยงามไม่แพ้ที่ใดๆ โดยเฉพาะความละเอียดอ่อนของภาพจิตรกรรมฝาผนัง และงานตกแต่งสถาปัตยกรรม   dsc_7668

dsc_7671

dsc_7673ความเป็นมาของบุญจุลกฐิน “พิธีทอดกฐิน” เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง คำว่า “กฐิน”  แปลว่า  ไม้สะดึง  คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง  สะดวกแก่การเย็บ  ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บ  เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบัน    การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน   ถ้าภิกษุทำเองก็จัดเป็นงานที่เอิกเกริก dsc_7550

dsc_7638การทอดกฐินเป็นกาลทาน  ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว  วัดหนึ่งสามารถรับได้ครั้งเดียวและต้องทำตามกำหนดเวลา   และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่   ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน  จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง  พิธีเช่นนี้ได้ทั้งบริวารสมบัติ  เพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรให้มาร่วมการกุศล   กาลทานเช่นนี้เรียกว่า  ทานทางพระวินัย

dsc_7531

dsc_7684กฐินมี  ๒  ประเภท  คือ กฐินราษฎร์ –กฐินหลวง และมีอีกหนึ่งประเภทที่เรียกว่าเป็นกฐินพิเศษ  คือ  “จุลกฐิน คือ   คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน    โดยอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก  เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ  ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย  ตัดเย็บ  ย้อม  และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง  ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มากยิ่งนัก  เพราะต้องใช้ความอุตสาหพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา  (มหากฐิน)  ภายในระยะเวลาอันจำกัด  โดยจุลกฐินนี้  ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่  มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากdsc_7283

dsc_7280

dsc_7252ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้ เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว  ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น      สำหรับประเทศไทยมีหลักฐานว่า มีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา  ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า  หน้า  268  ว่า  “ถึงวันขึ้น 15  ค่ำ  เดือน  12   โปรดให้ทำจุลกฐิน”dsc_7375ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น  โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า  “กฐินแล่น”  (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)  เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียวปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา  กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งให้คณะสงฆ์ในวัดพระเชตะวัน ร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะ  ผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว  โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่  ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย  โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วยdsc_7202

dsc_7219

dsc_7193

dsc_7189สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน  เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด  และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้  เพราะจะทำให้กฐินเดาะ  (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำกฐินมาถวาย ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน 12  (หมดฤดูกฐิน)  มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่างๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน  จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว  จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปขาย)  การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดีและในพิธีทอดจุลกฐินในครั้งนี้ประธานผู้นำบุญองค์กฐินประกอบไปด้วยหลายคณะเริ่มต้นที่dsc_7172ดร.เสริมวุฒิ คุณอมรรัตน์สุวรรณโรจน์พร้อมครอบครัวบริษัทเฉาก๊วยชากังราวจำนวน 3,500,000 บาท คุณบัญชา คุณพะเยาว์ ตันติสันถวพงศ์ คุณอภิสิทธิ์ คุณบุษกร ศิริวรวิทย์ ประธานบริษัทรุ่งแสงไทยอินเตอร์แมทเทรสจำกัด คุณธงชัย คุณสมฤดี อัศวสุขี ประธานบริษัทเอ็ซ์ตร้าสตีลไพล แอนด์ ดีเวลล็อบเมนท์ จำกัด รวม 400,000 บาท คุณกิตติ คุณอรรัชดา เด็กหญิงปณิตา ทองจำรูญ ห้างหุ้นส่วนจำกัดพูนทวีเทดดิ้ง ท่าทรายพูลทวี  30,000 บาท ดร.จิระศักดิ์ สุคนธชาติจำนวน 53,380 บาท

dji_0278รวมเจ้าภาพต้นจำนวน 186 รายและผู้ทำบุญทั่วไปอีกจำนวน 444 รายเป็นเงินทั้งสิ้น 5,381,508 บาท ในพิธีทอดจุลกฐินวัดสันทรายมูล บนถนนสันทราย – พร้าว ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า