ข่าวรอบชากังราวข่าวเด่นข่าวเศรษฐกิจ

หน่อกล้วยไข่กำแพงเพชร ขายดี คนนิยมซื้อนำไปปลูกกินกันเอง

กล้วยไข่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดกำแพงเพชรในอดีต แต่ปัจจุบันเหลืออยู่แค่ 2,700 ไร่เท่านั้นในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ยังคงมีการเพราะปลูกกันอยู่ เนื่องจากการปลูกกล้วยไข่นั้นต้องดูแลกันอย่างยากลำบาก โดนลมก็ไม่ได้ น้ำขังก็ไม่ได้ จะได้รับความเสียหายเกษตรกรหลายลายประสบปัญหาแล้วก็ขาดทุนกันไป1920h1080vi2550i_3

1920h1080vi2550i_1เราจะไปติดตามการจำหน่ายนอกเหนือจากกล้วยเป็นเครือกล้วยเป็นหวี ที่ผู้คนนิยมซื้อกันไปรับประทานแล้วปัจจุบัน ที่จำหน่ายดีและยังจำหน่ายได้ และยังคงจำหน่ายกันอย่างต่อเนื่องตลอดมาก็คือหน่อกล้วยไข่1920h1080vi2550i

1920h1080vi2550i_2เจ้าของร้านตลาดมอกล้วยไข่ ถนนสายเอเชีย พหลโยธิน หมู่ 21 ตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร บอกว่าหน่อกล้วยไข่จะติดไว้ที่หน้าร้านตลอดจะขายได้ต่อเนื่อง ช่วงที่ฝนลงจะขายได้ตลอด จะขายดีก็ก่อนช่วงค่ำเข้าพรรษา เพราะนิยมปลูกกันเยอะช่วงฝนแรก จะขายได้เยอะหน่อย ช่วงนี้ก็จะเกิดก็จะมาขายดีในช่วงก่อนออกพรรษา ส่วนลูกค้าก็มีหลายจังหวัดที่ขับรถผ่านมาแล้วก็สั่งไว้ ลูกค้าบางรายก็สั่งเป็น order จำนวน 200 หน่อก็มี นอกจากหน่อกล้วยไข่แล้วก็ยังมีกล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง เล็บมือนาง หักมุก น้ำว้ามะลิอ่อง น้ำว้าปากช่อง มะนาวแป้น เป็นต้น ส่วนราคากล้วยไข่ก็จะจำหน่ายในราคาหลอดละ 20 – 25 บาทน้ำ ถ้าเป็นกล้วยหอมทองก็จะจำหน่ายในราคา 40 บาท กล้วยน้ำว้า 20 บาท1920h1080vi2550i_4

1920h1080vi2550i_5

1920h1080vi2550i_6นางใจ ศรีจันทร์ผ่องอายุ 49 ปีอยู่บ้านเลขที่ 35/1 แม่ค้าเร่ขายกล้วยไข่ ชาวอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ นำรถกระบะมาเลือกซื้อกล้วยไข่ชนิดเครือและชนิดหวี ชำแระเรียงขึ้นรถ เพื่อนำไปขายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์เปิดเผยว่า  กล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชรจะเป็นที่นิยมของผู้บริโภค รสชาติจะไม่เหมือนกับกล้วยไข่ในจังหวัดอื่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร มีรสชาติหวานไม่มีแกนกลาง นำไปจำหน่ายหวีละ 50 บาทหรือว่า 60 บาทตามแต่ขนาด ช่วงนี้เป็นช่วงที่กล้วยออก จึงเป็นช่วงสร้างรายได้ เพราะถ้าบอกว่าเป็นกล้วยไข่กำแพงเพชรจะขายง่าย และ เราก็จะขายเฉพาะกล้วยไข่ของกำแพงเพชรแท้ๆเท่านั้น1920h1080vi2550i_7

1920h1080vi2550i_8

1920h1080vi2550i_9อย่างไรก็ตามในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชรหน่วยงานภาครัฐได้ส่งเสริมในการเพาะปลูกแล้ว แต่เกษตรกรนั้นมีทางเลือกในพืชเศรษฐกิจอื่นมากกว่า ที่สำคัญเพื่อใครดูแลยากโดนลมก็ล้มโดนน้ำก็ตาย การปลูกกล้วยไข่ในปัจจุบันถือเป็นการเสี่ยงต่อการขาดทุน จึงทำให้พื้นที่จากเดิมนับหมื่นไร่ลดลงเหลือ 4,000- 5,000 ไร่ และปัจจุบันลดลงเหลือเพียง2,700 ไร่เท่านั้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า