ทหารบุกพื้นที่ สักงามคลองลาน ยึดบุกรุก 2,400 ไร่
30 มิ.ย.59 ตามที่ นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ สั่งการด่วนดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อกลุ่มผู้บุกรุกที่ดินในเขตป่าต้นน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร ภายหลังได้รับรายงานกลุ่มทุนมีอิทธิพลเข้ายึดถือครอบครองที่ดินหลายพันไร่ทำสวนยางพารา และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ไม่กล้าดำเนินการ ต้องประสานชุดพยัคฆ์ไพร , ศปป4กอ.รมน.พร้อมฝ่ายทหารจากกองทัพภาค 3 เข้าช่วยบูรณาการตรวจยึดดำเนินคดี พร้อมกันตามนโยบายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ได้มีนโยบายในการบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้แผนพลิกฟื้นผืนป่าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนกําหนดให้มีการดําเนินคดีกับผู้บุกรุกป่า รายที่เป็นนายทุน หรือผู้มีอิทธิพล โดยใช้แนวทางการปฏิบัติตามคําสั่ง คสช.ที่ 64 , 66/2557 และคําสั่ง คสช.ที่ 13/2559 โดยเฉพาะในท้องที่ที่เป็นเขตป่าต้นน้ำลำธารสายหลักของประเทศประกอบด้วย พื้นที่ป่าต้นน้ำปิง วัง ยม น่าน และ แม่น้ำป่าสักอันสืบเนื่องจากกรณีกาบุกรุกยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าต้นน้ำในเขตจังหวัดต่างในท้องที่เขตจังหวัดทางภาคเหนือ ที่ยังคงมีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมบนพื้นที่ ป่าต้นน้ำลำธาร ในเขตภูเขาสูงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่เป็นการบุกรุกยึดถือครอบครองของกลุ่มผู้มีอิทธิพลระดับต่างๆ และกลุ่มทุนจากนอกพื้นที่นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ ได้รับรายงานถึงพฤติกรรมของกลุ่มทุนดังกล่าว จึงได้สั่งการให้ นายอรรถพล เจริญชันษา ผู้อำนวนการสำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า และนายชีวะภาพ ชีวะธรรม หัวหน้าชุดพยัคฆ์ไพร พร้อมชุดปฎิบัติการพยัคฆ์ไพร ได้เดินทางเข้าพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติๆ ในท้องที่ จ.กำแพงเพชร และได้ประสานการปฎิบัติร่วมกับ พอ.พงษ์เพชร เกษสุภะ ศปป4.กอ.รมน.กอ.รมน. , ฝ่ายทหาร , เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง , เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ของกรมป่าไม้ เดินทางลงพื้นที่ร่วมกันตรวจสอบและดําเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเร่งด่วน ต่อพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุกจำนวนหลายพันไร่ โดยจะเข้าตรวจยึดดำเนินคดีกลุ่มทุนจากนอกพื้นที่ ที่เข้ามายึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าต้นน้ำของแม่น้ำปิง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ได้รับการยืนยันจากชุนชนและมีการตรวจสอบแน่ชัดแล้วว่า เป็นกลุ่มทุนที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะทำกิน หรืออยู่อาศัยในเขตป่าตามเงื่อนไขแต่อย่างใดอย่างไรก็ตาม พล.ต.นพพร เรือนจันทร์ ผบ.พล.ร.4/ผบ.กกล.รส.พล.ร.4 เดินทางมาอำนวยการปฎิบัติการบังคับใช้กฎหมายต่อกลุ่มทุนดังกล่าว ร่วมกับชุดปฎิบัติการของชุดพยัคฆ์ไพร , ศปป4.กอ.รมน. , ชุดปฎิบัติการของกรมป่าไม้ที่รับผิดชอบพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จำนวน 200 นาย เข้าตรวจสอบพื้นที่ จำนวน 4 แปลง ในท้องที่ ต.สักงาม อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร พื้นที่ประมาณ 2,400 ไร่ ตรวจพบบ้านพักตากอากาศหรูขนาดใหญ่ในแปลงเป้าหมายที่ตรวจยึดดำเนินคดี มีการตัดถนนภายในแปลงอย่างเป็นระบบ ตรวจพบมีการปักเสาพาดสายไฟเพื่อนำไปสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำของหมู่บ้าน และส่งน้ำไปตามท่อขนาดใหญ่ส่งไปทั่วบริเวณสวนนับพันไร่
ทั้งนี้ ข้อมูลจากการขยายผลของ นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 (ตาก) และนายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวนการส่วนป้องกันรักษาป่า ให้รายละเอียดว่า พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองสวนหมาก และป่าคลองขลุง ซึ่งพื้นที่ตรวจยึดอยู่คาบเกี่ยวกับพื้นที่นิคมสหกรณ์คลองสวนหมาก ซึ่งขอใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้เพื่อจัดสรรที่ทำกินให้เกษตรกรผู้ยากไร้ตั้งแต่ปี 2531แต่จากการตรวจพบว่า พื้นที่ดังกล่าวได้มีการแอบเอาชื่อชาวบ้านไปแสดงสวมสิทธิ์ไว้ รายละ 50 ไร่ จำนวนนับสิบราย และจากการสอบสวนชาวบ้านที่ถูกนำชื่อไปสวมสิทธิ์พบว่า ชาวบ้านทั้งหมดไม่เคยทราบมาก่อนว่าตนเองได้ครอบครองที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านที่ถูกแอบอ้าง ให้การว่า พวกตนเองเพียงเคยเป็นลูกจ้างของกลุ่มทุนดังกล่าว ซึ่งช่วงแรกปลูกสวนส้ม และมีการเรียกบัตรประชาชนของชาวบ้านไป โดยอ้างว่าเพื่อไปทำเรื่องจ้างงาน แต่ไม่ทราบว่าถูกนำชื่อไปใส่สวมสิทธิ์ในเขตนิคมตั้งแต่เมื่อไร และเมื่อคณะเจ้าหน้าที่ขยายผลตรวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีนายทุนจากที่อื่นเข้ามายึดถือครอบครอง และแอบนำชื่อชาวบ้านไปแอบสวมสิทธิ์ โดยชาวบ้านไม่เคยทราบมาก่อนจริง และช่วงแรกจะทำสวนส้ม ภายหลังมีการซื้อขายเปลี่ยนมือไปให้กลุ่มทุนจากภาคใต้เข้ามาปลูกยางพารา ซึ่งสืบทราบแล้ว 4 ราย และข้อมูลจากผู้นำชุมชนในพื้นที่ให้การตรงกันว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของกลุ่มทุน และที่ผ่านมาชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากแหล่งน้ำของชุมชนที่ใช้ร่วมกันถูกกลุ่มทุนสูบขึ้นไปใช้จำนวนมาก จนขาดแคลนช่วงหน้าแล้ง จึงต้องนำข้อมูลและพฤติกรรมของกลุ่มทุนส่งให้เจ้าหน้าที่เพื่อเข้าดำเนินการตรวจยึดจับกุมดังกล่าวด้าน พล.ต.นพพร เรือนจันทร์ ได้สั่งการให้คณะเจ้าหน้าที่ดำเนินการขยายผลให้ถึงผู้อยู่เบื้องหลัง และให้ดำเนินการขยายผลต่อเนื่องอีก ซึ่งคาดว่าจะมีอีกหลายพันไร่ในพื้นที่ดังกล่าว และให้ผู้รับผิดชอบพื้นที่ดำเนินการรื้อถอนตามมาตรา 25 ของ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติๆ เพื่อนำพื้นที่ดังกล่าวกลับมาฟื้นฟู เป็นป่าต้นน้ำเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางตามแผนงาน พลิกฝืนพื้นป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป